ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรรณภาภรณ์ จงกลาง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, กลุ่มเสี่ยง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างอายุ 35–60 ปี จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยพหุลอจีสติก (Multiple logistic regression) และ Adjust OR ที่ค่าความเชื่อมั่น 95% CI ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 256 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 21.88 ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.78 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 50.00 (ค่าเฉลี่ย 46.68 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.07) เมื่อคำถึงผลกระทบตัวแปรอื่นๆ พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AdjOR = 2.90, 95% CI = 1.30 to 6.43, p-value = 0.008) และทักษะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (AdjOR = 0.10, 95% CI = 0.40 to 0.28, p-value <0.001) จากผลการศึกษาควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดในการเฝ้าระวังโรคและภาวะสุขภาพของประชาชน และควรจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยทำงาน

References

Zhen Ling Teo., et al. Global Prevalence of Diabetic Retinopathy and Projection of Burden through 2045: Systematic Review and Meta-analysis. Ophthalmology 2021;S0161-6420(21)00321-3.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สถานะสุขภาพ. เอกสารรับการตรวจราชการรอบ 1/2561. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา; 2561.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสาธารณสุขไทย 2551 – 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

Geboers B, Reijneveld S.A., Jansen, C.J.M., & Winter, A.F. Health literacy is associated with health behaviors and social factors among older adults: Results from the LifeLines Cohort Study. Journal of Health Communication 2016; 21(2), 45-53.

Baker, D.W., et al. Health Literacy and Mortality Among Elderly Persons. ARCH INTERN MED.; 2017 167(14).

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Geneva: WHO; 1998. p.1-10.

Sørensen1 K, Broucke S, Fullam3 J, Doyle G, Pelikan J. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012; 12:80

ณิชารีย์ ใจคำวัง. พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2558; 3(2):173-184.

Lo, S.W.S, Chair SY, Lee FK. Factors associated with health-promoting behavior of people with or at high risk of metabolic syndrome: Based on the health belief model. Appl Nurs Res 2015; 28(2):197-201.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, นิรชร ชูติพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(1): 110-28.

Hsieh F. Y., Bloch A, Larson D. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 8:1623-34.

Best, J. W. Research in education. New jersey: Prentice-Hall; 1981.

Suwannarat A. Finding a quality test for teaching management. Songklanagarind Medical Journal, 2009;27(5): 381-388.

อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์, และปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(1): 83-95.

เขมารดี มาสิงบุญ, สายฝน ม่วงคุ้ม และสุวรรณี มหากายนันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(2): 214-227.

จิราภรณ์ ชิณโสม, และวิพร เสนารักษ. ศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้หญิงอีสาน วัยกลางคน: กรณีศึกษาชุมชนเมืองแห่งหนึ่ง. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554; 29(1): 31-40.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา วิชาณีย์ ใจมาลัย และประกายดาว สุทธิ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จังหวัดพะเยา 2559; 34(4):115-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-16