การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ศูนย์สุขภาพชุมชน เทศบาลนครขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต, ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ศูนย์สุขภาพชุมชน เทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้กรอบแนวคิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต สมาชิกครอบครัวผู้ดูแลหลัก อสม. ประธานชุมชน ทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้บริหารและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 57 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติ ดำเนินงานระหว่างเดือน กันยายน 2563 – พฤษภาคม 2564 ผลการวิจัยระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ผู้ป่วยขาดทักษะในการจัดการพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม การสนับสนุนการดูแลจากครอบครัวมีน้อย ระบบฐานข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน หน่วยงานไม่มีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ระบบที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ 1) พัฒนาระบบการให้บริการ 2) จัดทำแนวปฏิบัติ (CPG) 3) พัฒนาระบบฐานข้อมูล 4) อบรมให้ความรู้ อสม.และแกนนำชุมชน การประเมินผล พบว่า 1) ผลลัพธ์เชิงระบบ หน่วยงานมีระบบบริการที่สนับสนุนให้ผู้ป่วยจัดการพฤติกรรมตนเอง มีฐานข้อมูลเป็นปัจจุบัน มีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วย 2) ผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตลดลงร้อยละ 82.37 ค่าระดับน้ำตาลสะสมลดลงร้อยละ 60.0 ค่าอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9
References
ปัฐยาวัชร ปรากฏผลและคณะ. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2562. จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/
?locale-attribute=th
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2559.กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงสาธารณสุข, (2563. ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2563. ค้นเมื่อ5 เมษายน 2563. จากhttp://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1404&kpi_year=2563
พิสิษฐ์ เวชกามา และคณะ. (2558). การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
จุฑามาศ เทียนสะอาด, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรมและนพวรรณ พินิจขจรเดช. (2560).การศึกษาเรื่องการรับรู้ภาวะจากอาการ ภาระค่าใช้จ่ายกับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23 (1), 60-77.
สุภิศา ปลูกรักษ์. (2561) การศึกษาเรื่องความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภาวะไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 72-80.
Barr VJ & et al. (2003). The expanded chronic care model: An integration of concepts and strategies from population health promotion and the chronic care model. Hospital quarterly, 8(1), 73-28.
Kemmis & Mc Taggart. (1988). The Action Research Planner Action research and the critical +analysis of pedagogy. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2562. จาก https://www.researchgate.net/figure/The-Kemmis-and-McTaggart-1988-Action-Research-Spiral-Cycle_fig1_279948945/actions#reference
มนัชญา เสรีวิวัฒนา, ยุพาวรรณ ทองตะนุนามและสุดาวรรณ์ ลิ่มอักขรา. (2561).การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอการเสื่อมของไต. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561, 5(1), 45-56.
Downloads
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น