การพัฒนากระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงรูปแบบอุดร7 ขั้นตอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ระนอง เกตุดาว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • ปาริชาติ สาขามุละ
  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ กระบวนการดูแล หญิงตั้งครรภ์เสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, Keywords: High risk pregnancy, care process, Tambon health promoting hospital

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงสูง รูปแบบอุดร 7 ขั้นตอน และศึกษาประสิทธิผลการพัฒนากระบวนการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี  High Risk pregnancy Udon  Model 7 step เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนากระบวนการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่  การวางแผน  การลงมือปฏิบัติ  การสังเกตและการสะท้อนผลการปฏิบัติ การพัฒนากระบวนการครั้งนี้ มี 2  วงรอบ คือรอบที่ 1  การพัฒนากระบวนการดูแลแม่ครรภ์เสี่ยงสูง รูปแบบอุดร 7 ขั้นตอน วงรอบที่ 2  พัฒนากระบวนการดูแลและรับ-ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงร่วมกับโรงพยาบาลเครือข่าย จังหวัดอุดรธานี  ระยะที่ 3  ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1)คณะกรรมการแม่และเด็กระดับอำเภอ 50 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2)พยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 200 คน 3)หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์ 95 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความรู้ความสามารถก่อนและหลังการพัฒนา และแบบประเมินความพึงพอใจหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์  เก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ระหว่างเดือนพฤษภาคม2563 - พฤษภาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติอ้างอิงในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนน ความรู้ความสามารถก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้ Paired t-test วิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค (Cronbach’s Coefficient of Alpha) ค่าเท่ากับ 0.86

                ผลการศึกษาพบว่า  กระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง Very High Risk Pregnancy Udonthani 7 Step คือ 1) ได้รับการติดตามเยี่ยมโดยสหวิชาชีพทุกราย 2) มีการวางแผนการดูแลรักษาร่วมกัน 3)สื่อสารให้ความรู้ Early Warning Sigh แก่หญิงตั้งครรภ์ ญาติ ครอบครัวและชุมชน 4) จัดทำMapping แผนที่บ้านผู้ป่วยและศูนย์ส่งต่อ 5) รพ.สต.ติดตามเยี่ยมทุกสัปดาห์ 6) หญิงตั้งครรภ์ ญาติ ครอบครัวและชุมชน รับรู้เข้าใจขั้นตอนการส่งต่อกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผ่านเบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ และเบอร์1669 และ 7) วางแผนส่งต่อและรับไว้รักษาที่ รพ.เครือข่ายร่วมกันทุกราย  กระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิผลภายใต้การมีส่วนร่วมญาติ ครอบครัวและชุมชน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ผลลัพธ์1) อัตรามารดาตายมีแนวโน้มลดลง เท่ากับ 17.65 ต่อแสนการเกิดมีชีพ 2)คะแนนความรู้ความสามารถการให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05(p<0.001)โดยความรู้ เพิ่มขึ้นจาก 13.24 เป็น 18.63 ความสามารถเพิ่มขึ้นจาก 7.81 เป็น 9.60   3)หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.58  ข้อเสนอแนะควรพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการคัดกรอง ดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง    ควรมีการศึกษาวิจัยพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019และการรับวัคซีนป้องกัน  และวิจัยพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงการใช้สารเสพติด   

                คำสำคัญ กระบวนการดูแล   หญิงตั้งครรภ์เสี่ยง  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ระนอง เกตุดาว  นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี, ปาริชาติ  สาขามุละ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี  ,ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี 

Ranong Ketdao1,Parichart Sakamura2,Chaweewan Sridoaroung3

References

1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.สุขภาพของคนไทยกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน:เสริมพลังกลุ่มเปราะบางสร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน. 2560 : 82-83.
2.สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย แนวโน้มอัตราส่วนการตายมารดาไทย เอกสารการประชุมคณะอนุกรรม กพว. ครั้งที่ 1-2564;2564 : 4.
3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี .เอกสารประกอบการตรวจราชการ จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8 รอบที่ 2/2563 ระหว่างวันที่ 10 – 12 มิถุนายน 2563 : 56-65.
4.สันติ ทวยมีฤทธิ์.การพัฒนารูปแบบการนำนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการดำเนินงานมหัศจรรย์1,000วันแรกแห่งชีวิตสู่การปฏิบัติ จังหวัดนครราชสีมา.2562 :
.5.กรมรี แพงดี.การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยโรงพยาบาล ศรีสงคราม.วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา.ปีที่ 3 (ฉบับที่ 1) มกราคม-เมษายน 2563: 28-37.
6.บัวลาและขนิษฐา นันทบุตร.ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์โดยชุมชนเป็นฐาน.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.2563.ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย.) 2563 Volume 28 No. 2 (Apr - Jun) 2020 : 16-26
7.จารินี คูณทวีพันธุ์, อนุรักษ์ กระรัมย์,ระวีวัฒน์ นุมานิต. ผลการพัฒนาแบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดบุรีรัมย์.วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2562; ปีที่15
(ฉบับที่1) มกราคม - เมษายน 2562 :49 – 57.
8. จารุวรรณ เย็นเสมอ.การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการตายของมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้ จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. ปีที่ 15 ;ฉบับที่ 36 มกราคม-เมษายน 2564 : 143 – 159.
9.จารุรักษ์ นิตย์นรา , ลาวรรณ ศรีสูงเนิน.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่13 (ฉบับที่ 13) มกราคม - เมษายน 2562 :27-43.
10.ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน ,สุจิตตรา พงศ์ประสบ.การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลรามา. ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 พฤศจิกายน – ธันวาคม 2562 : 243-254.
11. สุรพงศ์ เอียดช่วย.การจัดบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา[ วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ;2554.
12.เพ็ญจันทร์ ชัยชมพู,ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง.ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์จังหวัดอุดรธานีปี 2559 (Udonthani model classifying pregnancy 2016) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ 32 แห่ง อ.เมือง จ.อุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. ปีที่ 27 ฉบับที่1 มกราคม - เมษายน 2562 : 69 – 79.
13.อมรรัตน์ หิมทอง .การศึกษาวิจัยการประเมินผลการดำเนินงานในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการ
แพทย์เขต 11 .ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ต.ค. - ธ.ค. 2556 : 879 – 889.
14.เพ็ญศรี บำรุง,รัตติยา ทองสมบูรณ,สมทรง บุตรตะ, รําไพ เกตุจิระโชติ . การพัฒนาระบบ บริการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงโรงพยาบาลมหาสารคามและโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม .วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.2559; ปีที่ 34 (ฉบับที่1) : 37-45.
15.สุวรรณมณี วุฒิ,บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์.ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการให้บริการคลินิกครรภ์เสี่ยงสูง โรงพยาบาลราชวิถี .วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 2 (ฉบับที่ 1 )มกราคม – ธันวาคม 2560: 43-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30