ปัจจัยทำนายการถอดท่อหายใจได้เร็วในผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึก
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การถอดท่อหายใจได้เร็ว, ผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการถอดท่อหายใจได้เร็วในผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้การระงับความรู้สึก โดยศึกษาข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งประเภทที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บและไม่บาดเจ็บ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างมีระบบจำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบบันทึกปัจจัยการถอดท่อหายใจได้เร็วในผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ multiple logistic regression analysis
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างถอดท่อหายใจสำเร็จร้อยละ 34 ปัจจัยทำนายการถอดท่อหายใจได้เร็วในผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึก มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัวดี
(ORadj = 5.12; 95%CI : 1.16-22.67; p–value = 0.032) การใส่ท่อหายใจก่อนผ่าตัด (ORadj = 0.12; 95%CI : 0.25-0.56 p – value = 0.007) ค่าระดับโพแทสเซียมในเลือดก่อนมาผ่าตัดปกติ (ORadj = 3.59 ; 95%CI : 1.25-10.32; p – value = 0.018) และปริมาณสารน้ำที่ได้รับปริมาณน้อยกว่า 1,000 มิลลิลิตร (ORadj =8.12; 95%CI : 2.62-25.15; p – value <0.001)
สรุปได้ว่าตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์การถอดท่อหายใจได้เร็วในผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึก ซึ่งสามารถอธิบายการผกผันแปรการถอดท่อหายใจได้เร็วในผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ได้รับการระงับความรู้สึกได้ร้อยละ 40.80
References
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์ Clinical Practice Guidelines for Ischemic Stroke. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส, 2562.
Echeverría, M., Fiorda-Diaz, J., Stoicea, N., & Bergese, S.D. Emergence from Anesthesia. In Essentials of Neuroanesthesia. NY: Academic, 2017.
Saranagi. S. (2008). Delayed awakening from anaesthesia. The Internet Journal of Anesthesiology 2008; 19(1): 1-4.
อานันท์ชนก ศฤงคารินกุล, สุชัญญา สุวรรณจิตร และยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการถอดท่อช่วยหายใจในห้องผ่าตัดเทียบกับการถอดท่อช่วยหายใจในเวลาต่อมา ภายหลังการผ่าตัด เปิดกะโหลกศีรษะในภาวะฉุกเฉิน. J Med Assoc Thai,2559; 99 (8): 933-939.
Cai, Y., Zeng, H.Y., Shi, Z.H., Shen, J., Lei, Y.N., Chen, B.Y., & Zhou, J.X. Factors influencing delayed extubation after infratentorial craniotomy for tumor resection: A prospective cohort study of 800 patients in a Chinese neurosurgical center. Journal of International Medical Research 2013; 41(1): 208–217.
Nivatpumin, P., Srisuriyarungrueng, S., Saimuey, P., & Srirojanakul, W. Factors affecting delayed extubation after intracranial surgery in Siriraj Hospital. Siriraj Medical Journal 2010; 62(3): 119-123.
Cata, J.P., Saager, L., Kurz, A., & Avitsian, R. Successful extubation in the operating room after infratentorial craniotomy: The Cleveland Clinic experience. J Neurosurg Anesthesiol 2011; 23(1): 25‐29.
Bernard, R. Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning, 2000.
นิตยา โพธิวิทย์ และ อุมาภรณ์ พงษ์พันธ์. ระยะเวลานอนและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการคาท่อหายใจในห้องพักฟื้นภายหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในโรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร 2555; 33(1): 31-41.
Flexmana, A.M., Wangb, T., and Mengc, L. Neuroanesthesia and outcomes: Evidence, opinions, and speculations on clinically relevant topics. Wolters Kluwer Health, Inc. All rights reserved 2019; 32(5): 539-545.
Saringcarinkul, A., Suwannachit, S., & Punjasawadwong, Y. Factors associated with operating-room extubation after emergency craniotomy. J Med Assoc Thai 2016; 99(8): 933-939.
ภัสสร ธรรมอักษร และอรุโณทัย ศิริอัศวกุล. การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยอ้วน. เวชบันทึกศิริราช 2560; 10(1): 34-41.
พลพันธ์ บุญมาก. การวางระงับความรู้สึกโดยใช้ยาดมสลบเป็นหลัก. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552; 24(2): 159-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น