การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจารย์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ปวีณา อุดรไสว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบสนับสนุน, การจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า และพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจารย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 61 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต วิธีการศึกษาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1.การศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 2.การวางแผนการพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง 3.การปฏิบัติตามแผน 4.การประเมินผล ดำเนินการ 2 วงรอบ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง คิดเป็นร้อยละ 46.67 มีระดับน้ำตาล 100 - 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร้อยละ 40 พฤติกรรมการรับประทานอาหารมีการแบ่งสัดส่วนข้าวเหนียวในการรับประทาน ไม่ใช้อาหารเสริมและสมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือด มีการออกกำลังกายทุกวัน พฤติกรรมการดูแลเท้า มีการรักษาความสะอาดเท้า บริหารเท้า ทาครีมโลชั่นสม่ำเสมอ ผลการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าพบว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในระดับเสี่ยงสูงเท่าเดิม จำนวน5 คน ระดับเสี่ยงปานกลางลดลงเหลือ จำนวน 4 คน และระดับเสี่ยงต่ำเพิ่มมากขึ้น จำนวน 6 คน

References

Ammar Ibrahim. What is diabetes. International Diabetes Federation. [Internet]. 2017 [cited 2019 June 12] Available from https://diabetesatlas.org/

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โรคNCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1: กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.2563.

World Health Organization. Global report on diabetes. [Internet]. 2016. [ cited 2019 May 1]. Available from World Health Organization 2016 WHO/NMH/NVI/16.3.

สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2560.

Szabad G. Diabetic foot syndrome. Orvosi hetilap. 2011;152-29

Junrungsee S, Kosachunhanun N, Wongthanee A, Rerkasem K. History of foot ulcers increases mortality among patients with diabetes in Northern Thailand. [Internet]. 2011. [cited 2019 May 25] Available from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1464-5491.2011.03262.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจารย์. รายงานประจำปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจารย์; 2561.

ณิปไทย ศีลาเจริญ. ปัจจัยทำนายการถูกตัดนิ้วเท้าหรือตัดในผู้ป่วยมีแผลที่เท้าจากเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี:วารสารกรมการแพทย์. 2560; 42:258 – 67.

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง:กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค Self-management Support: Strategies for Promoting Disease Control. วารสารวิทยาลัยพยาบาลปกเกล้า. 2558;.26 (ฉบับเพิ่มเติม):117 – 127.

Creer LT. Self – management of chornic illness. Handbook of self – regulation. Calif Acad. 2000; 601-29.

Lewin, K. Action research and minority problems. Social Issues.1946; 34-46.

อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. การเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล. 2553; 25:351-63.

กนกวรรณ ด้วงกลัด ปัญญารัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา และกสมลรัตน์ ชาญสาธิตพร.โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563; 36:1 66-82.

ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์ และยุวนุช สัตยสมบูรณ์. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563; 7:2232-243.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-17