ความรู้ และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ของผู้รับบริการ ในโรงพยาบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พีระ อารีรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความรู้, ความเชื่อด้านสุขภาพ, กัญชาทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ของผู้รับบริการในโรงพยาบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 384 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน    ที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ไคสแควร์  ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ ความเชื่อด้านรับรู้ความเสี่ยง ความเชื่อด้านการรับรู้อันตราย ความเชื่อด้านการรับรู้ประโยชน์ และความเชื่อด้านการรับรู้อุปสรรคเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  7.60±3.70, 18.85±4.68, 16.10±3.7, 16.88±3.73, และ 18.56±4.53 ตามลำดับ  ปัจจัยกระตุ้นเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ อยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 24.03±4.25 ความเชื่อด้านการรับรู้ความเสี่ยง ความเชื่อด้านการรับรู้อันตราย ความเชื่อด้านการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ และปัจจัยกระตุ้นเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ มีความสัมพันธ์กับการใช้กัญชาทางการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04, 0.03, <0.001, และ 0.01ตามลำดับ) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ และความเชื่อด้านการรับรู้อุปสรรคเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ มีความสัมพันธ์กับการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.078 และ 0.823 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมด้านความรู้ และความเชื่อด้านสุขภาพ ความเสี่ยง ความรุนแรง และประโยชน์เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์  ควรเพิ่มกลวิธีในการให้ความรู้และการเผยแพร่ข้อมูลหลายช่องทาง ร่วมกับการประเมินผลอย่างเป็นระบบเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นรูปธรรม

References

อารีญา กฤดาตระกูล.การศึกษาการใช้พืชกัญชาทางด้านการแพทย์ของสหพันธรัฐรัสเซีย และ ประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา).กรุงเทพ; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : 2561

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562, [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564]. จาก:http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/019/T_0001.PDF.

สารเสพติดผิดกฎหมายในประเทศไทย ปี 2560-2563 = Facts and figures :illegal substances in Thailand 2017-2020.- สงขลา : ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติดหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563.

นิด้าโพล, “ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “นโยบายกัญชา”,” 2562. , [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564]. จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=96.

สุริยัน บุญแท้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.).สรุปผลการศึกษา “โครงการสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องกัญชาทางการแพทย์ และ การใช้แบบสันทนาการ: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ” , 2020 May .[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564] จาก https://cads.in.th/cads/content?id=102.

ศิริลักษณ์ อัคพิน ,กรกนก เสาร์แดน,ลลดา ทองจำนงค์ และญาตาวี เซ็นเชาวนิช. (2562). ความรอบรู้ ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์. .[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564] จาก https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_research/research_Split/14.pdf

ปรีดาภรณ์ สายจันเกตุ,พิมพ์พร โนจันทร์, นิติรัตน์ มีกาย, รัศมี สุขนรินทร์.ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.2020; 18(3) : 595-603

กรพินทุ์ ปานวิเชียร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.2020;3(1) : 31-42

จิตรลดา บุญจานง, มานพ คณะโต.การรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมการใช้กัญชาในผู้ใช้กัญชา จังหวัดอุดรธานี.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ปี 2559 ; 4 : 241-253

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพ : แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.รายงานประจำปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564] จาก https://www.ayo.moph.go.th/main/file_upload/subblocks/FullReport2563.pdf.

ประสพชัย พสุนนท์.การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970)ในการวิจัยเชิงปริมาณ.วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์.2557:7;112-125

Bloom, B. S. Mastery learning. In J. H. Block (Ed.), Mastery learning: Theory and practice. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.

Best J.W. Research in education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs; 1977.

ภานุชนาถ อ่อนไกล.กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์.ทุนทางสังคมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.2563;6:1-13

วีรยา ถาอุปชิต,นุศราพร เกษสมบูรณ์.นโยบายกัญชา: การวิเคราะห์เปรียบเทียบไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมันนี และอิสราเอล.วารสารเภสัชกรรมไทย. 2564;13: 4-16

นิษฐาหรุ่นเกษม.รายงานฉบับสมบูรณ์การกำหนดวาระทางสังคมของสื่อเรื่องกัญชาทางการแพทย์. [อินเทอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค.2564]จาก https://cads.in.th/cads/content?id=175

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์,โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ์.ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการ แพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข . 2561;12 : 71-94

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ กรณีศึกษานโยบายกัญชาทางการแพทย์: สถานการณ์ ผลกระทบแนวทางจัดการ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาหรับประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค.2564]จาก https://cads.in.th/cads/media/upload/1593403557-รายงานฉบับสมบูรณ์%20อ.ธีระ.pdf

บริษัท ซูเปอร์โพล จำกัด.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสารวจ Public Opinion Poll เรื่องสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชน (โพล) ต่อประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสารเสพติด (Drug Poll)กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไประดับครัวเรือนทั่วประเทศ.[อินเทอร์เน็ต].2559[เข้าถึงเมื่อ 5พ.ค.2564]จาก https://cads.in.th/cads/content?id=52

สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี,มานพ คณะโต.การเสพติดกัญชาและผลกระทบ.วารสารกรมการแพทย์.2560 ; 42(4): 83-88

พัฒณปกรณ์ ดอนตุ้มไพร พิพัฒน์ พันมา, มัณฑนา หน่อแก้ว และ โชติ บดีรัฐ .นโยบายกัญชาเสรีในฐานะพืชทางการแพทย์. Journal of Roi Kaensarn Academi .2561;6(1):184-198

สุริยัน บุญแท้. โครงการสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องกัญชา ทางการแพทย์และการใช้แบบสันทนาการ: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ. [อินเทอร์เน็ต].2559[เข้าถึงเมื่อ 5พ.ค.2564]จาก https://cads.in.th/cads/content?id=102

อนันต์ชัย อัศวเมฆิน .นโยบายและทิศทางการใช้กัญชาทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค.2564]จาก https://www.hfocus.org/content/2019/09/17729

บัณฑิต ศรไพศาล.คิดให้ชัดกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย.วารสารวิชาการสาธารณสุข.2562;28 : 755-766

Oryor Digital Library .คณะกรรมการยาเสพติดเห็นชอบแล้ว โมเดลปลูกกัญชา 6 ต้น. 24 Dec 2020 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค.2564].จาก https://oryor.com/อย /detail/media_news/1953

HSRI-FORUM ฉบับพิเศษ ประชุมวิชาการวิจัยระบบสุขภาพ ประจำปี 2557 : วิจัย...เปลี่ยนระบบ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค.2564]จาก https://www.hsri.or.th/researcher/media/forum/detail/5933 2557:4-5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30