ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรกร วิชัยโย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • เพ็ญศิริ จงสมัคร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สิริพร ชัยทอง
  • ศิริษา โคตรบุดดา

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, หลอดเลือดสมอง, โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 23 คน ใช้โปรแกรมในการให้ความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างของประชากร 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติทดสอบ Paired samples t-test และ Independent  samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

                ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ภายในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองมีค่าเท่ากับ 0.39 (S.D.=0.11), 0.92 (S.D.=0.61) ตามลำดับ และหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เท่ากับ 0.92 (S.D.=0.61), 0.49 (S.D.=0.11) ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ทั้งคู่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <0.001 ส่วนค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดจากเลือกการบริโภคอาหารภายในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองมีค่าเท่ากับ 3.69 (S.D.= 0.31), 4.11 (S.D.= 0.28) ตามลำดับ และหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 (S.D.= 0.28), 3.65 (S.D.= 0.37) ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคทั้งคู่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <0.001 และค่าเฉลี่ย(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)ของคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพทั้ง 4 ด้าน คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยง, การรับรู้ความรุนแรง, การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ต่ออุปสรรค ระหว่างก่อนและหลังการทดลองมีค่าเท่ากับ 0.39(0.11), 3.91(0.38), 3.98(0.48), 3.89(0.47) และ 0.92(0.61), 4.50(0.44), 4.59(0.32), 4.50(0.41) ตามลำดับ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50(0.44), 4.59(0.32), 4.50(0.41), 4.71(0.26) และ 0.41(0.41), 3.96(0.35), 3.81(0.38), 4.11(0.34) ตามลำดับ ภาพรวมของความเชื่อด้านสุขภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)

References

1. Alwan A, Maclean DR, Riley LM, d'Espaignet ET, Mathers CD, Stevens GA, et al. Monitoring and surveillance of chronic non-communicable diseases: progress and capacity in high-burden countries. Lancet. 2010;376(9755):1861-8.
2. WHO Chronic non-communicable diseases: Fact sheets. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs355/en/index.html [accessed 2013 10 Nov]
3. Wimo A, Jönsson L, Bond J, Prince M, Winblad B. Alzheimer Disease International. The worldwide economic impact of dementia 2010. Alzheimers Dement. 2013 Jan;9(1):1-11.e3.
4. Bureau of Non-Communicable Diseases, Ministry of Public Health. World Stroke Day 2016. Bangkok: Bureau of Non-Communicable Diseases; 2016. (in Thai)
5. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราผู้ป่วย (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD) ต่อประชากรแสนคน 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสุขภาพ และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) 2559-2561 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
6. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์ (Health Center Information System Kalasin). ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดกาฬสินธุ์ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdc2.kalasin.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2018&source=pformated/format1.php&id=71cff4a5f828ddbe688784c2659abfe9
7. Bureau of Non-Communicable Diseases, Ministry of Public Health. Manual for Preventing Chronic Non-communicable Diseases of Tambon Health Promotion Hospital. (3th ed). Bangkok: Office of Veterans Organization Printing Office; 2013. (in Thai)
8. Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. Public Health Statistics 2017. Bangkok: Siam Charoen Commercial; 2018. (in Thai)
9. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์; 2553.
10. พันทิพพา บุญเศษ และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบล
ห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร. 2560;21(2) 28-41.
11. กฤษติพงษ์ ทิพย์ลุ้ย และปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร์. ประสิทธิผลของการให้ความรู้โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการปฏิบัติตัว ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2560;11(2):19-24.
12. ทิตาวดี สิงห์โค, ศากุล ช่างไม้ และทิพา ต่อสกุลแก้ว. ได้ทำการศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ ซึ่งพฤติกรรมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2563;16(2):42-60.
13. ศุภสวัสดิ์ รุจิรวรรธน์, จตุพร เหลืองอุบล และบัณฑิต วรรณประพันธ์. การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะทุ่ม ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9. 2560;23(2):55-63.
14. พรพิมล อมรวาทิน. ประสิทธิผลของโปรแกรม CHIRP FAST ต่อความรู้ การรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 2562;6(3):121-132.
15. จิรัชยา สุวินทรากร และคณะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
16. ปรีดี ยศดา, วาริณี เอี่ยมสวัสกุล และมุกดา หนุ่ยศร. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.วารสารพยาบาล. 2562;64(4):39-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31