สมรรถนะด้านการบริหารของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
สมรรถนะด้านการบริหาร, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความระดับสมรรถนะทางการบริหารในผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 160 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นและผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและประมาณค่าช่วงเชื่อมั่นค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 95 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ กำหนดระดับนัยสำคัญการทดสอบที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ระดับสมรรถนะทางการบริหารของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานีทั้ง 10 ด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านที่สูงมากที่สุดได้แก่ ด้านการบริการที่ดี รองลงมาได้แก่ด้านการทำงานเชิงรุกในชุมชน ด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ น้อยที่สุดได้แก่ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ และด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนปัจจัยศึกษา พบว่า ความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ความสัมพันธ์บุคลากร การได้รับการสนับสนุนการเงินและวัสดุ ด้านแรงจูงใน ทัศนคติในการทำงานและการรับรู้กรอบโครงสร้างขององค์กรมีความสัมพันธ์น้อยมากกับสมรรถนะ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศหญิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะ ดังนั้น ผู้บริหารควรนำด้านที่บกพร่องไปส่งเสริมพัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวเพื่อยกระดับสมรรถนะให้สูงยิ่งขึ้น
References
2.Hawi, R.O., Alkhodary, D. & Hashem, T. Managerial Competencies and Organizations Performance. International Journal of Management Sciences. 5 (11): 723–735; 2015.
3.Rozhkov, M., Cheung, B.C.F & Tsui, E. Workplace context and its effect on individual competencies and performance in work teams. International Journal of Business Performance Management. 18 (1): 49–81; 2017.
4.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ปี2561. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
5.คมกริช ฐานทองดีและประจักษ์ บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 19 (3): 154–165; 2562.
6.จิริสุดา บัวผัน, ประจักร บัวผันและพรทิพย์ คำพอ. ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของทันตแพทย์ใน โรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที 12. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16 (6): 679–692; 2553.
7.ณัฏฐ์นรินทร์ สุขลิ้ม. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในสังกัดราชการส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน]. สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2562.
8.ฝ่ายแผนงานและประเมินผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานประจำปีผลการปฏิบัติงานสำนักงานสาธาณสุขจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2562. อุบลราชธานี: ฝ่ายแผนงานและประเมินผล; 2562.
9.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ประชุมช่าง; 2553.
10.สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข. อนาคตสถานีอนามัยไทย. นนทบุรี: สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข; 2539.
11.สุปราณี ยมพุก. สมรรถนะของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น