วิเคราะห์การบริหารคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คำสำคัญ:
งานบริหารคลังเวชภัณฑ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การวิจัยเชิงสำรวจประเมินบทคัดย่อ
การวิจัยแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจากโปรแกรมควบคุมคลังเวชภัณฑ์ และข้อมูลจากการนิเทศประเมินระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Paired t-test, One sample t-test ผลการวิจัย: ระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์หลังมีการเพิ่มรอบการออกเยี่ยมประเมินงานบริหารคลังเวชภัณฑ์ ตัดรายการยา จำกัดปริมาณการเบิกยา สร้างระบบการจัดการข้อมูลการสั่งใช้ยามาใช้ควบคุมการเบิกยาและควบคุมการบันทึกประวัติการรักษาของผู้ป่วย พบว่า มูลค่าการเบิกยา มูลค่ายาหมดอายุ มูลค่ายาใกล้หมดอายุภายใน
6 เดือน และอัตราสำรองยาตามมาตรฐาน (ไม่เกิน 3 เดือน) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) อย่างไรก็ตามจำนวนรายการยาขาดคลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) สรุปผลการวิจัย: การพัฒนาระบบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ช่วยประหยัดงบประมาณด้านยา และควบคุมการบันทึกข้อมูลประวัติการรักษาให้ถูกต้องครบถ้วน จึงควรได้รับการสนับสนุนให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงติดตามผลการปฏิบัติงานและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไป
References
ณัฐวุฒิ อุตนาม. การศึกษารูปแบบการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในเขตสุขภาพที่ 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2559.
ปิยนาถ แก้วบัวพันธ์, ทัดจันทร์ มะเสนะ. การศึกษาการดำเนินงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2559;9(1):89-93.
กัญจน์นรี จิตต์ธนานันท์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, นิวัฒน์ นัดสถาพร. การใช้แผนที่สายธารคุณค่าเพื่อพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายยาภายในโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. เภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(4):50-62.
ปราโมทย์ บุญเจียร. การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2559;6(1):38-48.
รัชนิตย์ ราชกิจเนตรสุวรรณ, ชิดชนก เรือนก้อน. ความสอดคล้องระหว่างการประเมินตนเองและการประเมินโดยเภสัชกรตามเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวด้านเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในจังหวัดเชียงราย. วารสารเภสัชกรรมไทย.2561; 11(2):318-32.
รัตติกรณ์ บุญพัฒน์, รัศมี ลีประไพวงษ์ สุภัทรา ปุญญนิรันดร์ ชญานี อิสรไกรศีล, กันตพัฒน์ ตันธนาวุฒิวัฒน์. โครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาปราศจากเชื้อในห้องยา หู ตา คอ และจมูก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช. 2563;13(2):85-95.
นันท์นภัส ฟุ้งสุข, อัษฎางค์ พลนอก. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มฉก.วิชาการ 111. 2560; 21(41), 109-22.
รายงานการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด. เอกสารการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ครั้งที่ 3 ปีงบประมาณ 2561. โรงพยาบาลศรีสงคราม.2561:1-5.
ร่างตัวชี้วัดสำหรับงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล. ศูนย์สารสนเทศและวิจัยระบบยา (ศสวย.). 2550:42-3.
Demessie MB, Workneh BD, Mohammed SA, Hailu AD. Availability of Tracer Drugs and Implementation of Their Logistic Management Information System in Public Health Facilities of Dessie, North-East Ethiopia. Integr Pharm Res Pract. 2020;9:83-92.
Kuupiel D, Tlou B, Bawontuo V, Drain PK, Mashamba-Thompson TP. Poor supply chain management and stock-outs of point-of-care diagnostic tests in Upper East Region's primary healthcare clinics, Ghana. PLoS One. 2019;14(2).
พินิจสินธุ์ เพชรมณี. ปัจจัยทางการบริหารและการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ .2557;1(3):36-48.
Namisango E, Ntege C, Luyirika EB, kiyange F, allsop MJ. Strengthening pharmaceutical systems for palliative care services in resource limited settings: piloting a mHealth application across a rural and urban setting in Uganda. BMC Palliat Care. 2016:15-20.
Fisher AM, Mtonga TM, Espino JU, Jonkman LJ, Connor SE, Cappella, et al. User-centered design and usability testing of RxMAGIC: a prescription management and general inventory control system for free clinic dispensaries. BMC Health Serv Res. 2018;18(1).
Nakyanzi JK, Kitutu FE, Oria H, Kamba PF. Expiry of medicines in supply outlets in Uganda. Bull World Health Organ. 2010;88(2):154-8.
วรินท์มาศ เกษทองมา. ปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2559;9(1):19-24.
ชลการ ทรงศรี, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, ศิรินทิพย์ คามีอ่อน. บทเรียนการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอศูนย์ประสานงานจังหวัดสกลนคร.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2559;9(1):8-18.
อุเทน หาแก้ว. การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2559;9(1):142-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น