ระดับเสียงและแผนที่แสดงระดับเสียงเทียบเท่าบริเวณสวนสาธารณะ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร แก้วคุณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธนาวุธ โนราช มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระดับเสียง, แผนที่แสดงระดับเสียงเทียบเท่า, สวนสาธารณะ, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเสียงทั่วไปบริเวณสวนสาธารณะบึงสีฐาน จังหวัดขอนแก่น โดยใช้เครื่องตรวจวัดปริมาณเสียง (Sound Level Meter) ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงบริเวณสวนสาธารณะบึงสีฐาน จำนวน 48 จุดตรวจวัด ตรวจวัดระดับเสียงในวันอังคาร พุธ และอาทิตย์ เก็บข้อมูลระดับเสียงเฉลี่ย 5 นาที ในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 05.00 – 07.00 น. และช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 17.00 – 19.00 น. ผลการศึกษา ระดับเสียงเฉลี่ย 5 นาที รอบบึงสีฐาน พบว่า มีค่าระหว่าง 35.3 – 69.8 เดซิเบลเอ โดยใน วันอังคารช่วง 18.00 – 19.00 น. วันพุธช่วง 17.00 – 18.00 น. และวันอาทิตย์ช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. มีค่าระดับเสียงสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่นๆ ที่ตรวจวัด โดยจากการทำแผนที่แสดงระดับเสียงเทียบเท่า (Noise contour mapping) ในวันธรรมดาและวันหยุด พบว่า ในวันพุธ (วันธรรมดา) มีค่าเฉลี่ยของระดับเสียงสูงสุดเท่ากับ 66.8 เดซิเบล(เอ) ในช่วงเวลา 06.00 – 07.00 น. และในวันอาทิตย์ (วันหยุด) พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับเสียงสูงสุดเท่ากับ 69.8 เดซิเบล(เอ) ในช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. เมื่อพิจารณาตามค่ามาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป กำหนดค่าระดับเสียงเฉลี่ยต้องไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป สรุปได้ว่า บริเวณบึงสีฐานมีระดับเสียงที่ตรวจวัดได้เฉลี่ยไม่เกินจากค่ามาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปตามที่กำหนดไว้

References

กนกพร จํานงจิตร และธันวดี ศรีธาวิรัตน์. (2559). ระดับเสียงในสถานีขนสงผู้โดยสาร จังหวัดพิษณุโลกแห่งที่1 พิษณุโลก: Faculty of Science and Technology, Pibulsongkram RajabhatUniversity, PSRU Journal of Science and Technology 1(2): 13-22, 2016

กนกวรรณ อาจแก้ว,วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล และสุนิสา ชายเกลี้ยงความชุกของการสูญเสียการได้ยินและการสัมผัสเสียงของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น ขอนแก่น: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชวีอนามยัและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวทิยาลยัขอนแก่น และสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชนิดาภา มาตย์บัณฑิต. (2561). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย อุดรธานี: กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี TJPHS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561 (ฉบับปฐมฤกษ์)

ณัฐวุฒิ พรศิริ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2561). ระดับเสียงของหน่วยบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี: วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่18ฉบับที่ 1: มกราคม-มีนาคม 2561

พันชัย เม่นฉาย. (2554). การจัดการมลพิษทางเสียงเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตข้อต่อท่อประปาเหล็ก: กรณีศึกษาโรงงานบีสไพพ์ ฟิตติ้ง อินดัสตรีจำกัด: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต SDU Res. J. 4 (1) : Jan - Dec 2011

ภูวสิทธิ์ สิงหภูมิ, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ และจิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556).ผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่งอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี: วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2556

มินตา ธารีจิตร์, ธนาศรี สีหะบุตร และวิธิดา พัฒนอิสรานุกลู. (2561). การจัดทำแผนที่ระดับเสียงจากการจราจรสำหรับเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่18 ฉบับที่ 3: กรกฎาคม-กันยายน 2561

รัตนาภรณ์ เพ็ชรประพันธ์. (2558). การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโรงงานโม่หินแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. สงขลา: วารสารวิจัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ปีที่ 27ฉบับที่ 8: มกราคม-มีนาคม 2558

ลักษณีย์ บุญขาว และดุษฎี ถาวรพงษ์. (2562). การศึกษาระดับเสียงและแผนที่แสดงระดับเสียงเทียบเท่าบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562

วิชาญ บุญค้ำ และวราภรณ์ ทุมวงษ์. (2562). การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่แสดงระดับเสียงรบกวนในโรงงานผลิตตู้แช่เย็น จังหวัด กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

วิภาดา สนองราษฎร์ และนวพล ชุติชาติ. (2559). การตรวจวัดฝุ่นรวมและเสียงในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 3 : หน้า 1-10 (2559)

ศุภนนท ์ไตรพิพฒัน์ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2561). ระดับเสียงในพื้นที่หอพักที่ใกล้สถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น: วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่ 18 ฉบับที่ 4: ตุลาคม-ธันวาคม 2561

สุชาดา จิตร์ชนะ และสิรินารี เงินเจริญ. (2560) การตรวจวัดระดับเสียงภายในอาคารพักอาศัยที่ใกล้พื้นที่ก่อสร้าง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.สระแก้ว: วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. 5(2) : 146-157 (2560)

เสกสรรค์ ทองติ๊บ และพงศธร ศิลาเงิน. (2562). การประเมินระดับเสียงในที่ทำงานของผู้ประกอบอาชีพแกะสลักหินและทำครกหิน จังหวัดพะเยา: สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อนวัช ชื่นม่วง. (2558).การลดการสมัผัสเสียงดังของพนักงานแบบมีส่วนร่วมในสถานประกอบกิจการดิสโก้เทคและบริเวณโดยรอบในพื้นที่ถนนข้าวสาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร:วิทยานิพนธ์นี้ตามหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Deng, Y., Cheng, J.C.P., Anumba, C., 2016. A framework for 3D traffic noise mapping using data from BIM and GIS integration. Struct. Infrastruct. Eng. 12, 1267–1280. https://doi.org/10.1080/15732479.2015.1110603

Fiedler, P.E.K., Zannin, P.H.T., 2015. Evaluation of noise pollution in urban traffic hubs—Noise maps and measurements. Environmental Impact Assessment Review 51, 1–9. https://doi.org/10.1016/j.eiar.2014.09.014

Ozkurt, N., Sari, D., Akdag, A., Kutukoglu, M., Gurarslan, A., 2014. Modeling of noise pollution and estimated human exposure around İstanbul Atatürk Airport in Turkey. Science of The Total Environment 482–483, 486–492. https://doi.org/10.1016/j.scitotenv.2013.08.017

Samet, R., Askerbeyli, I.N.A., Varol, C., n.d. AN IMPLEMENTATION OF AUTOMATIC CONTOUR LINE EXTRACTION FROM SCANNED DIGITAL TOPOGRAPHIC MAPS 13.

Tran Huynh Minh Chi, A.K., 2017. Associations between Environmental Noise Mapping and Self-Concerned from Noise in Can Tho Community, Vietnam. Science & Technology Asia 22, 3. https://doi.org/10.14456/SCITECHASIA.2017.10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01