การศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ สารสกัดกระชายขาว เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่กระดาษ

ผู้แต่ง

  • แพรวพรรณ บุญนวม คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • นุรมา กาแบ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • รัยมี หะยีมะสาและ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิยาลักทักษิณ
  • วิทวัส หมาดอี คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ปิยะนุช สุวรรณรัตน์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • กุสุมาลย์ น้อยผา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

กระชายขาว, สบู่กระดาษ, สารต้านอนุมูลอิสระ, สารพฤกษเคมี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดกระชายขาว (Boesenbergia pandurata Holtt) ได้แก่ แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ แอนทราควิโนน คูมาริน ซาโปนิน แทนนิน เทอร์พีนอยด์ สเตียรอยด์ และคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ โดยอาศัยปฏิกิริยาการเกิดสีหรือตะกอน ตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดกระชายขาวด้วยวิธี DPPH radical scavenging การหาปริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric การทดสอบความพึงพอใจผลิตภัณฑ์สบู่กระดาษที่มีส่วนผสมของสารสกัดกระชายขาวจากผู้ใช้ 50 คน ด้วยวิธีสุ่มตามสะดวก (Convenience sampling) ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดกระชายขาว พบสารพฤกษเคมีได้แก่ ฟลาโวนอยด์ คูมาริน ซาโปนิน แทนนิน เทอร์พีนอยด์ และคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ และสารสกัดกระชายขาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมี IC50=232.50 µg/mL ให้ปริมาณฟีนอลิกรวม เท่ากับ 111.63±3.12 mgGAE/g เมื่อพัฒนาเป็นสบู่กระดาษที่มีขนาดที่เหมาะสม ขนาด 5×6 เซนติเมตรต่อการใช้ 1 ครั้ง ผู้ใช้จำนวน 50 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 4.10±0.19)

References

อุดมการ อินทุใส และ ปาริชาติ ทะนานแก้ว. (2559). สมุนไพรไทย ตำรับยา บำบัดโรค บำรุงร่างกาย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

กวิน สุขสิงห์ และ วรรณี จิรภาคย์กุล. (2554). ผลของการทำแห้งต่อปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์และสมบัติต้านออกซิเดชันในกระชายเหลือง. ในการประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49. (หน้า641-648). วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2554 ณ กรุงเทพฯ.

Kirana C, Jones GP, Record IR, McIntosh GH. (2007). Anticancer properties of panduratin A isolated from Boesenbergia pandurata (Zingiberaceae). Journal of natural medicines. 61 (2), 131-137.

Kiat S, Richard TP, Rohana Y, Halijah I, Norzulaani K, Noorsaadah A. (2006). Inhibitory activity of cyclo hexenyl chalcone derivatives and flavonoids of fingerroot, Boesenbergia rotunda (L.), towards dengue-2 virus NS3 protease. Bioorganic & Medicinal Chemistry Letters. 16 (12), 3337-3340.

Tewtrakul S, Sanan S, Chatchanok K, Chanita P, Sarot C. (2009). Anti-flammatory effects of compounds from Kaempferia parviora and Boesenbergia pandurata. Food Chemistry. 115(2), 534-538.

Jitvaropasa R, Saenthaweesuka S, Somparna N, Thuppiaa A, Sireeratawonga S. and Phoolcharoenb W. (2012). Antioxidant, antimicrobial and wound healing activities of Boesenbergia rotunda. [Electronic Journal]. Natural Product Communications, 7(7). 909-912.

ปิยะมิตร ศรีธรา, พลังพล คงเสรี และ ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ. (2563). สารสกัดกระชายขาว ต้าน COVID-19 ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2563, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522.

Ayoola, GA, Coker HA, Adesegun SA, Adepoju-B AA, Obaweya K, Ezennia EC, Atangbayila TO. (2008). Phytochemical screening and antioxidant activities of some selected medicinal plants used for malaria therapy in southwestern Nigeria. Tropical Journal of Pharmaceutical Research.

(3), 1019-1024.

Sazada S, Verma A, Rather AA, Jabeen F, Meghvansi MK. (2009). Preliminary phytochemicals analysis of some important medicinal and aromatic plants. Advances in Biological Research. 3 (3), 188-195.

Shyam-Krishnan M, Dhanalakshmi P, Sudhalakshmi GY, Gopalakrishnan S, Manimaran A, Sindhu S, Sagadevan E, Arumugam P. (2013). Evaluation of phytochemical constituents and antioxidant activity of Indian medicinal plant Hydnocarpus pentandra. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences. 5 (1), 453-458.

Braca, A, Sortion, C, Politi, M, Morelli, I, and Meddez, J. (2002). Antioxidant activity of flavonoids from Liccania licaniaeflora. Journal of Ethnopharmacology. 79 (3), 379–381.

Majhenic L, Skerget M, Knez Z. (2007). Antioxidant and antimicrobial activity of guarana seed extract. Food Chemistry. 104 (3), 1258-1268.

เบญจมาศ ทานสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่จากกากกาแฟอาราบิก้า (ดงมะไฟ) ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา : โปรแกรมวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ทัศนีย์ ปานผดุง. (2546). ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและการควบคุมคุณภาพโดยเทคนิค HPLC ของสารจากเหง้ากระชาย. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.15.

Joabe GM, Thiago ASA, Valérium TNAC, Daniela LVC, Maria DR, Silene CN, Elba LCA and Ulysses PA. (2010). Antiproliferativeactivity, antioxidant capacity and tannin content in plants of semi-Arid northeastern Brazil. [Electronic Journal]. Molecules, 15 (12). 8534-8542.

ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). การพัฒนาโลชั่นจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิจัย และพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (2), 97-106.

ภูมิทัศ ทับทิม ,นฤมล พินเนียม ชนะไพฑูรย์ และสุภกร บุญยืน.(2561).การพัฒนาสบู่เหลวที่มีส่วนผสมจากสารสกัดหอมหัวใหญ่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 26 (4), 546-550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-29