การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลศูนย์กลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • คำเสริม สายธาลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิญญา จำปามูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, ความคลาดเคลื่อนทางยา, โรงพยาบาล สปป.ลาว, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์กลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์กลาง 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสด โรงพยาบาลเศษฐาธิลาด และโรงพยาบาลมิตภาพ สปป.ลาว จำนวน 336 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ (systematic sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถามสองส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาจำนวน 32 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา (CVI) 0.96 หาค่าความเที่ยงโดยคำนวณค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ 0.89 ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563-10 พฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการวิจัยพบว่า การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์กลาง สปป.ลาว ภาพรวมอยู่ อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.79, S.D.=0.50, 95% CI: 2.65-2.78) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ปฏิบัติได้คะแนนสูงสุดคือ ด้านการค้นหาความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.11, S.D.=0.49) ด้านที่ปฏิบัติได้คะแนนน้อยที่สุด คือด้านการประเมินผลการจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา (Mean=2.33, S.D.=0.82)

References

กิตติพนธ์ เครือวังค์. ความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารกฎหมายสาธารณสุขและสุขภาพ 2561; 4(2): 251-265.

กาญจน์วจี จตุเทน และ ประจักร บัวผัน. การบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับบัณฑิตศึกษา 2561; 18(4): 167-177.

กระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปสาธารณสุข ถึง ปี 2020. เวียงจันทน์: กรมจัดตั้งพนักงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

จงจิต เสน่หา, จงกลวรรณ มุสิกทอง และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับวิธีการให้ยาอย่างปลอดภัยกับการปฏิบัติการให้ยาอย่างปลอดภัยของนักศึกษา พยาบาล ในสถาบันการศึกษาพยาบาล แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การ พยาบาลแห่งประเทศไทย 2561; 36(1): 17-30.

จันทร์ธิมา เพียรธรรม, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง และ วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม. ผลลัพธ์กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารเภสัชศาสตร์ภาคอีสาน 2561; 14(3): 116-129.

ดาวพะสอน สีหาลาด. ความสามารถในการบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาล จังหวัดภาคใต้ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. สปป.ลาว: โรงพยาบาลภาคใต้; 2558.

ทรียาพรรณ สุภามณี, วิภาดา คุณาวิกติกุล, และ ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา. การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารการพยาบาล 2557; 41(5), 48-58.

นันธิดา พันธศาสตร์ และ ราตรี ทองยู. แนวปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2560; 10(2): 1-3.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: ยู แอน ไอ อินเตอร์ มีเดีย; 2553.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์, รัชตวรรณ ศรีตระกูล, สมปรารถนา ดาผา, อนุสรณ์ ช้างมิ่ง, ปิยวะดี ลีฬ หะบำรุง, และ อมรรัตน์ นาคละมัย. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูง โดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลผู้นิเทศทุกระดับโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(1), 234-243.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ, และ อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่าง ชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและ ผลลัพธ์ ด้านผู้ป่วยพยาบาลและองค์กรในโรงพยาบาล ทั่วไป. วารสารการพยาบาล 2557; 41(4), 58-69.

ศิริรัตน์ วีกิตติ, จินตนา วราภาสกุล, และ บุญเรือน ชุ่มแจ่ม. การพัฒนาระบบการใช้แนวปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาโรงพยาบาลนพรัตราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2552; 31(2), 25-35.

สุนิษา เข็มทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

สุดารัตน์ สุธราพนธ์, และ ธนาวรรณ แสนปัญญา. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลแพร่. วารสารกองการพยาบาล 2552; 36(3),76-93.

สำรี ชมบริสุทธิ์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และ อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2563; 47(2), 453-462.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-22