การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ และคุณภาพชีวิต ของประชาชน จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ผลกระทบ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ และคุณภาพชีวิต ของประชาชน จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 450 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับการดื่มแบบเสี่ยงต่ำ ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับต่ำ และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การจ่ายค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เองทุกครั้ง (β = 0.618) การมีสมาชิกในครอบครัวดื่ม (β = 0.649) ค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเดือน(β =0.148) ไม่มีอาการเมาหลังการดื่ม(β = 0.133) ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ (β = 0.324) และมีเพื่อนฝูง/คนรู้จัก ร่วมดื่ม (β = 0.141) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ร้อยละ 59.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลวิจัยนี้ ควรมีการกำกับควบคุมพฤติกรรมการบริโภคเครื่องแอลกอฮอล์ให้ลดลง เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อไป

References

World Health Organization , (2018). Global status report on alcohol and health – 2018 ed.

วิทย์ วิชัยดิษฐ และคณะ ,(2562). รายงานสถานการณ์ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสังคมไทย ประจำาปี พ.ศ. 2560. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ

อธิบ ตันอารีย์ และพลเทพ วิจิตรคุณากร, (2562). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนี ความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูลการสำรวจ พ.ศ. 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2562 : 353-367

กนกอร งามนัก และคณะ , (2563). รายงานสถานการณ์การดำาเนินนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประเทไทย ระหว่าง พ.ศ. 2551-2561. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ

พีรพงศ์ ทองอันตัง และวุธิพงศ์ ภักดีกุล, (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลต้อนแบบในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2560 : 560-571

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, (2563). สถานการณ์และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 9มิถุนายน 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1439020200823062540.pdf

พงษ์ศักดิ์ อ้นน้อย, (2560). การพัฒนามาตรการการจากดัการจำ หน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชน ของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต (2561) ; 6(3) : 525-536

กรมอนามัย ,(2562). โทษ พิษ ภัยของสุรา และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564. จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/hp-ebook_13_mini-2/

ภาณุ พรวัฒนา, (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบำบัดผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยง แบบอันตราย และ แบบติด โดยใช้โปรแกรมบำบัดความคิดและพฤติกรรม การเสริมพลังอำนาจ และการเยี่ยมเสริมพลังในรูปแบบ “สีชมพูโมเดล”. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 : 349-357

ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และคณะ, (2562). คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เขตสุขภาพที่ 8 ประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562 : 475-482

นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ , (2555) . การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดสุราใน โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57(2): 185-198

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย, (2563). HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564 จาก https://sti.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย, (2563). สรุปรายงานการปฏิบัติงานประจำปี 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัยกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of education objective, Handbook I: Cognitive domain. New York: David Mckay.

Pattanaphesaj J. , (2014.) Health-related quality of life measure (EQ-5D-5L). measurement property testing and its preference-based score in Thai population [Doctoral dissertation] . Mahidol University;

ปริทรรศ ศิลปกิจ และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ,(2552). แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ ฉบับปรับปรุงครั้งที่สอง. แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. บริษัท ทานตะวันเปเปอร์: กรุงเทพ

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศร, (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC The Real Meaning of IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 : ธันวาคม พ.ศ. 2561 : 3-10

นิตยา ชนะกอก,ทับทิม ริบแจ่ม, วาสนา วัฒนากร และคณะ (2550), การเฝ้าระวังการเกิดภาวะขาดแอลกอฮอล์ในผู้ที่มีปัญหาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลลำพูน.

อุมาพร เคนศิลา และจุฬารัตนเคนศิลา , (2560). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ดื่มในชุมชนเมืองจังหวัดอุดรธานี Alcohol drinking behavior among people in the urban area of Udon Thani province. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.3 (2017). 52-61

พนิดา นามจันดี. (2549). ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอสีชมพู สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาขอนแก่น เขต 5 จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์, (2552) การศึกษาแบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบทบาทของสังคม ในการบรรเทาปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยทำงานในเขตจังหวัดชลบุรี. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ.หน้า 150-157

ศิริลักษณ์ นิยกิจ. (2555). พฤติกรรมการดื่มและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอนั เนื่องมาจากการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนตำบลไร้น้อย อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค, 7(11), :21-32

หรรษา เศษฐบุปผา และคณะ , (2558) ผลของโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุราคุณภาพชีวิต และการกลับมารักษาซ้ำในผู้ที่เป็นโรคติดสุราในภาคใต้. Nursing Journal. Faculty of Nursing, CMU. Vol. 42 No. 1 (2015): มกราคม - มีนาคม 2558 : 108-121

นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ , (2555) . การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดสุราในโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57(2) : 185-198

มานพ คณะโต และคณะ (2548) รายงานการวิจัยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2547. สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จินตนา วงศ์วาน. (2548) จินตนา วงศ์วาน. (2548) ความชุกและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564 จาก file:///C:/Users/User/Downloads/Abstract_386829%20(1).pdf

มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2548). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย. นครปฐม :คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03