ความชุกและปัจจัยท่าทางการทำงานที่ส่งผลต่อการเจ็บปวดโครงร่างกระดูก และกล้ามเนื้อในเกษตรกรกลุ่มเย็บผ้า

ผู้แต่ง

  • วิพา ชุปวา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิลาวัณย์ ชาดา คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กาญจนา แซ่อึง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ช่วงชัย ชุปวา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ความชุก, ท่าทางการทำงาน, การเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ, เกษตรกรกลุ่มเย็บผ้า

บทคัดย่อ

การเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อให้เกิดผลกระทบกับแรงงานทั้งในด้านสุขภาพ ความสามารถในการทำงานและส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความชุกและท่าทางการทำงานที่ส่งผลต่อการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อในเกษตรกรกลุ่มเย็บผ้า ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 292 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม Standardized Nordic Questionnaire และแบบประเมินความเสี่ยงการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อของกรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยแบบทวินาม

            ผลการศึกษา พบว่า ความชุกการเจ็บปวดระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ในช่วง 7 วัน ที่ผ่านมา ร้อยละ 87.30 ตำแหน่งที่มีความผิดปกติมากที่สุด ได้แก่ น่อง หัวเข่า หลังส่วนล่าง และไหล่ ร้อยละ 55.50, 53.10, 52.00 และ 51.00  ตามลำดับ และ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 94.20 ตำแหน่งที่มีความผิดปกติมากที่สุด ได้แก่ น่อง หัวเข่า หลังส่วนล่าง และไหล่ ร้อยละ 57.50, 54.50, 53.80 และ 52.40 ตามลำดับ สำหรับท่าทางการทำงานที่ส่งผลต่อการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อได้แก่ ลักษณะงานที่ต้องมีการเพ่งและจดจ่อเป็นอย่างมากเป็นเวลา 3-5 นาที นั่งทำงานเป็นเวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาทำงาน โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ และ ลักษณะงานที่มีการก้มต่อเนื่องขณะทำงานตลอดเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value < 0.05) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรหาแนวทางในการป้องกันและควบคุม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงานต่อไป

References

World Health Organization. Musculoskeletal conditions [Internet]. 2019 [cited 2020 Oct 5]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/musculoskeletal-conditions.

Bone and Joint Initiative USA. The Impact of Musculoskeletal Disorders on Americans–Opportunities for Action. United States: Global Alliance for Musculoskeletal Health/Bone and Joint Decade; 2016.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.

แนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบอาชีพเบื้องต้นสําหรับหน่วยบริการสาธารณสุข. พิมพครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2012.

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน. การยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 10]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.shawpat.or.th.

สำนักข่าวไทยแลนด์พลัส. พาณิชย์ หนุนตลาดผ้าไหมไทย จัดเส้นทางสายไหมสู่แหล่งท่องเที่ยววิถีไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธันวาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thailandplus.tv/archives/62854.

จักรกฤณ วังทัน และนทัต อัศราภรณ์. แนวทางพัฒนาอาชีพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยผลิตภัณฑ์ใยกัญชงตามแนวปรัชญาของเศษรฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 2561; 7(1): 124-55.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง, วรวรรณ ภูชาดา. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(1), 99–111.

ขจรศักดิ์ สีวาที, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์, เกษราวัลณ์ นิลวรากูร. การวิเคราะห์กลวิธีของระบบสุขภาพในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(2): 252-66.

ปาริชาติ สนิท, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์, เกษราวัลณ์ นิลวรากูร. คุณภาพชีวิตของเกษตรกรปลูกสับปะรด ในจังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(2): 275-81.

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A, Vinterberg H, Bierring-Sorensen F, Andersson G, Jorgensen K. Standardized Nordic questionnaire for the analysis of musculoskeletal symptoms. Appl Ergon. 1987;18(3):233-7.

กรมควบคุมโรค. (2552). แบบประเมินความเสี่ยงอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ. [อินเตอร์เน็ต].2552 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 10]. เข้าถึงได้จาก:http://www.envocc.org/Budget56/farmer/riskmusle&bone.pdf.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, รุจาธร อินทรตุล. ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า. พยาบาลวารสาร 2020; 47(2): 64-74.

จันจิรา ทิพวัง และกาญจนา นาถะพินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อ ของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(1): 46–61.

Neeraja T, Bhargavi A, Manjulatha C. Musculoskeletal disorders and visual strain among handloom weavers. Int J Inf. Res Rev. 2016;3(10):2942-5.

Iman Dianat, Madeh Kord, Parvin Yahyazade, Mohammad Ali Karimi, Alex W. Stedmon Association of individual and work-related risk factors with musculoskeletal symptoms among Iranian sewing machine operators. Appl Ergon. 2015; 1:180-8.

กิตติ อินทรานนท์. การยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Iwan M, Agus W, Krishna P. Correlation Power of Related Factors Affected Musculoskeletal Disorders Complaints Amongst Rice Mill Unit Operators. Asian J Epid. 2019;12(2):45–52.

Rosecrance J, Rodgers G, Merlino L. Low back pain and musculoskeletal symptoms among Kansas farmers. Am J Ind Med. 2006;49(7):547-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03