การบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุควิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • รณชัย คนบุญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เพิ่มพูล บุญมี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ยงยุทธ บรรจง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการความเสี่ยง, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, องค์กรยุควิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการบริหารงานด้านการจัดการความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุควิถีใหม่ ศึกษาในกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา 139 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดการบริหารความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ Content analysis ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อการบริหารในองค์กรยุควิถีใหม่ ที่คำนึงการจัดการด้านความเสี่ยงมากที่สุด อาจารย์/เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา มีความคิดเห็นว่าการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดการความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติมากที่สุด และแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะพยาบาลศาสตร์ เน้นการค้นหาข้อเท็จจริงของความเสี่ยง การจัดทำและใช้แบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยงด้วยมาตรการต่างๆ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19 : C4.). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

โรงพยาบาลวิชัยยุทธ. NEW NORMAL ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลัง COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/new-normal-covid19/

World Economic Forum. Coronavirus in China – Insights on the Impacts and Opportunities for Change [Internet]. 2020 [cited 2021 Aug 21]. Available from: https://www.weforum.org/agenda/2020/03/coronavirus-china-opportunities-change/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. โรงเรียนและนักเรียนมีความพร้อมเพียงใดกับการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์: ข้อค้นพบจาก PISA [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-51/

Wilson J, Tingle J. Clinical Risk Modification. Oxford: Butterworth-Heinemann; 1999.

มาลี บุญศิริพันธ์. รู้จัก “New Normal” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/292126

ฝนแก้ว เบ็ญจมาศ. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

สุมลรัตน์ พงษ์ขวัญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;33(1):130-140.

น้ำทิพย์ ม่วงปลอด. การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก [ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2560.

สมพร หงส์เวียง และอภิญญา จำปามูล. ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงด้านความรุนแรงในสถานที่ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562;34(2):190-197.

สมยศ ชี้แจง. การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย [ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

พีระนันท์ จีระยิ่งมงคล, วัลทณี นาคศรีสังข์ และจันทนา ณหทัยโภศิน. สภาพการณ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และแนวทางการป้องกันความเสี่ยงขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563;3(3):204-220.

ประภาพรรณ รักเลี้ยง, จิติมา วรรณศรี, ฉลอง ชาตรูประชีวิจ และวิทยา จันทร์ศิลา. การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2556;15(3):59-65.

ประณต มีสอน, พรพิมล ประวัติรุ่งเรืองกิจ และวินิจ เทือกทอง. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2559;10(1):324-338.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. แผนบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03