การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ประธาน ศรีจุลฮาด โรงพยาบาลร่องคำ

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข ตัวแทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน จิตอาสา และญาติ-ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประครอง เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ( Palliative Performance Scale for adult Suandok) เดือนกันยายน 2562 – กันยายน 2563 จำนวน 152 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบการเปรียบเทียบผลก่อนทดลองและหลังการทดลอง Dependent t-test ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสาธารณสุข ตัวแทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน จิตอาสา และญาติ-ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประครองหลังได้รับการพัฒนาศักยภาพมีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และพบว่า ความสามารถในการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยหลังจากการสูญเสียของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ของบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ดีกว่า ก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวโยงกับการดูแลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษาให้ครอบครัวได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านจิตใจและการใช้ชีวิตหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว และให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้จากไปอย่างสงบ

References

ฉันชาย สิทธิพันธุ์.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หมอชวนรู้ โดยแพทยสภา.2564 [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564 [https://tmc.or.th › pdf › tmc_knowlege-59]

โรงพยาบาลร่องคำ. สถานการณ์ผู้ป่วยระยะท้ายของอำเภอร่องคำ. โรงพยาบาลร่องคำ. 2562

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ พิมลรัตน์ พิมพ์ดี ศศิพินทุ์ มงคลไชย พวงพยอม จุลพันธุ์ ยุพยงค์ พุฒธรรม. การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ของโรงพยาบาลอุดรธานี. Nursing Journal of The Ministry of Public Health,2563. 23(1), 80-90

ฐิติมา ปลื้มใจ. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในโรงพยาบาลสงขลา ในปี 2563. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2563

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง. นนทบุรี: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2556.

โรงพยาบาลปทุมธานี. การดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้าย โรงพยาบาลปทุมธานี. 2561. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2563 [https://www.cgtoolbook.com/books004/4/]

กรมการแพทย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สาหรับบุคลากรทางการแพทย์) ส านักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2563.

สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง. ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้าน ในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ วารสารสาธารณสุขล้านนา ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 ปี 2560.

นพพร จันทรเสนา และ ปิยะนุช พรหมสาขา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโรงพยาบาลหนองหาน อาเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. โรงพยาบาลหนองหาน อาเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี, 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29