ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวาน ด้วยหลักการ 6 building blocks จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • วนิดา สมภูงา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการโรคเบาหวาน, 6 เสาหลักของระบบบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวานจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้แนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ เพื่อประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ โดยการวิจัยปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. การค้นหารูปแบบด้วยการสร้างพลัง คณะกรรมการบริหารโรคเบาหวาน จังหวัดศรีสะเกษ 2. ประเมินรูปแบบ โดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินด้วยชุดคำถาม 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนคณะกรรมการบริหารโรคเบาหวานจังหวัดศรีสะเกษ 46 คน รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ จัดหมวดหมู่ตามแนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลแบบร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3. ประเมินผลลัพธ์ โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบโดยมีคณะกรรมการดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ 3 ด้าน คือ 1) ด้านการนำและการอภิบาล ร้อยละ 91.00  2) ด้านระบบสารสนเทศด้านสาธารณสุข ร้อยละ 87.80  3) ด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ร้อยละ 82.60  โอกาสในการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านระบบบริการ ร้อยละ 65.00  2)ด้านกลไกการคลังด้านสุขภาพ ร้อยละ 64.80  3) ด้านกำลังคนด้านสุขภาพ ร้อยละ 63.80  ผลลัพธ์ พบว่า อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 28.83 เป็น ร้อยละ 40.26 ประสิทธิผลการควบคุมระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.51 ลดต้นทุนในการตรวจน้ำตาลสะสม หลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าถึงบริการมากขึ้น ประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้น ต้นทุนในการบริการลดลง ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ยา รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการจัดการโรคเบาหวาน

References

สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน . มารู้จักโรคเบาหวานกันเถอะ แหล่งข้อมูล www.thaide.org/เบาหวาน ปี 2563 . [สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564]

ชัยวัฒน์ ดาราสิชณน์.ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ,วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2562

World Health Organization. Global report on diabetes . Available From ; http://apps.who. Int /iris/bit stream/10665/204871/1/ 9789241565257_eng.pdf. 2016 [cited 2017 Jul 1]

วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:

นิวธรรมดาการพิมพ์ 2555.

World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Services 2010.

Polit, D.F. & Beck, C.T.. Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. (10th ed). Philadelphia: PA: Wolters Kluwer 2017.

วนิดา สาดตระกูลวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการจัดการคลินิกโรคเรื้อรัง (เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี .วาสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561.

มัณฑริกา แพงบุดดี ,วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์.การพัฒนา แนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชนตำบลหนองแดง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564.

Arunee Paisanpanichkul. Model of Nursing Organization Development of Community Hospital That Upgraded to General Hospital According to The Service Plan : A Case study of Sawangdandin Crown Prince Hospital 2019.

มะลิวัลย์ อังคณิตย์ . การพัฒนารูปแบบ คุณภาพระบบบริหารการพยาบาลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ กลุ่มงานวิจัยและสภาการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด .วาสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563.

ภัคภิญญา ธรรมโชโต และคณะ. รูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ , มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560.

มะลิวัลย์ อังคณิตย์ และคณะ. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลโดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด , วาสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2563.

วรรณภาภรณ์ จงกลาง,นาฎนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์ .ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงานอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วาสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03