ผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 3 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นวดี เทศศรีเมือง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, สมรรถภาพทางกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและค่าเฉลี่ยระยะทางที่สามารถเดินบนพื้นราบได้ในเวลา 6 นาทีในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะ 3 จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 60-78 ปี ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดจำนวน 11 ท่า ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย พร้อมทั้งแจกแผ่นพับการออกกำลังกาย และแบบบันทึกการออกกำลังกายด้วยตนเอง อาสาสมัครฝึกออกกำลังกายที่บ้าน 3 ครั้ง/สัปดาห์และโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและค่าเฉลี่ยระยะทางที่สามารถเดินบนพื้นราบได้ในเวลา 6 นาทีก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ Paired Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและค่าเฉลี่ยระยะทางที่สามารถเดินบนพื้นราบได้ในเวลา 6 นาที เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01)

สรุปได้ว่าโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและค่าเฉลี่ยระยะทางที่สามารถเดินบนพื้นราบได้ในเวลา 6 นาทีในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังในระยะ 3 สามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังอื่นได้

References

Bellizzi V, Cupisti A, Capitanini A, Calella P, D’Alessandro C. Physical activity and renal transplantation. Kidney Blood Press Res. 2014;39(2-3):212-9.

Roshanravan B, Gamboa J, Wilund K. Exercise and CKD: Skeletal Muscle Dysfunction and Practical Application of Exercise to Prevent and Treat Physical Impairments in CKD. Am J Kidney Dis. 2017;69(6):837-52.

Heiwe S, Jacobson SH. Exercise training in adults with CKD: a systematic review and meta-analysis. Am J Kidney Dis. 2014;64(3):383-93.

Painter P, Carlson L, Carey S, Paul SM, Myll J. Physical functioning and health-related quality-of-life changes with exercise training in hemodialysis patients. Am J Kidney Dis. 2000;35(3):482-92.

Lo CY, Li L, Lo WK, Chan ML, So E, Tang S, et al. Benefits of exercise training in patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis. Am J Kidney Dis. 1998;32(6):1011-8.

DePaul V, Moreland J, Eager T, Clase CM. The effectiveness of aerobic and muscle strength training in patients receiving hemodialysis and EPO: a randomized controlled trial. Am J Kidney Dis. 2002;40(6):1219-29.

Mustata S, Chan C, Lai V, Miller JA. Impact of an exercise program on arterial stiffness and insulin resistance in hemodialysis patients. J Am SocNephrol. 2004;15(10):2713-8.

vanVilsteren MC, de Greef MH, Huisman RM. The effects of a low-to-moderate intensity pre- conditioning exercise programme linked with exercise counselling for sedentary haemodialysis patients in The Netherlands: results of a randomized clinical trial. Nephrol Dial Transplant.2005;20(1):141-6.

เจริญ กระบวนรัตน์.(2550).ยาง...ยืดชีวิตพิชิตโรค.กรุงเทพ:คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2550:1-8.

Rhonda, O., Jacqui, R., and Maria, F. (2008). Efficacy of progressive resistance training on balance performance in older adults: A Systematic Review of randomized controlled trials. Journal of Sports Medicine. 38(4): 317- 343.

Kronhed AG, Moller C, Olsson B, et al. The effect of short-term balance training on community dwelling older adults. J Aging Phys Act. 2001;9(1): 19-31. doi: 10.1123/japa.9.1.19

ฉัตรกมล สิงห์น้อย, พรชัย จูลเมตต์ และอวยพร ตั้งธงชัย.(2559) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง มหาวิทยาลัยบูรพา:1-222.

Srisamai T, Nakmareong S, Yonglitthipagon P, Siritaratiwat W, Auvichayapat P, Sawanyawisuth K, Janyacharoen T. Effects of traditional Thai boxing exercise program on physical performance in elderly Thai subjects: A pilot study. Chula Med J 2017 Nov -Dec;61(6): 745 – 55.

Loampan T., Rachnavy H. Muscle Strength and Endurance after Elastic Band Exercise Training in Older Adults. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima.2019;25(2):148-167.

Mustata S, Chan C, Lai V, Miller JA. Impact of an exercise program on arterial stiffness and insulin resistance in hemodialysis patients. J Am Soc Nephrol. 2004;15(10):2713-8.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2549). ยางยืดพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: แกรนสปอร์ต.

หทัยรัตน์ สีขำ, วัลลีย์ ภัทโรภาส, & ราตรี เรืองไทย. (2553). ผลของการฝึกชี่กงร่วมกับการใช้ยางยืดรัดรอบอกที่มีต่อสมรรถภาพปอดใน ผู้สูงอายุ. วิทยาสารก าแพงแสน, 8(2), 65-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03