ความรู้ด้านโภชนาการ การบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อ ภาวะโภชนาการในวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ด้านโภชนาการ การบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการในวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี อาศัยในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 474 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามความถี่ในการบริโภคอาหาร
กึ่งปริมาณ แบบวัดความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย และแบบบันทึกภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.76 อายุเฉลี่ย 16.8 ปี (S.D. = 2.57) อยู่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 33.65 ใช้จ่ายในการบริโภคอาหารประมาณ 41–60 บาทต่อวัน ร้อยละ 47.89 เข้าถึงสถานที่จำหน่ายอาหารจากร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 50.00 มีความรู้ด้านโภชนาการเฉลี่ย 7.26 (S.D. = 1.95) การออกกำลังกายแบบกิจกรรมเบา ร้อยละ 46.60 ระยะเวลาในการออกกำลังกายเฉลี่ย 10.91 นาทีต่อวัน (S.D. = 3.14) มีภาวะน้ำหนักตามส่วนสูงเกิน ร้อยละ 31.90 น้ำหนักตามอายุเกินอายุ ร้อยละ 35.00 และส่วนสูงตามอายุค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ 29.50 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การบริโภคอาหารในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อภาวะโภชนาการที่เพิ่มขึ้นกำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 (r = 0.38, 95% CI = 0.272-0.416) พฤติกรรมการออกกำลังกายที่ลดน้อยลงมีผลต่อภาวะโภชนาการที่เพิ่มมากขึ้นกำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 (r = -0.403, 95% CI = -0.357-(-0.500))
สรุปการวัดความรู้ด้านโภชนาการไม่สามารถบ่งบอกถึงความบกพร่องด้านโภชนาการของเด็กวันรุ่น แต่พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเป็นปัจจัยหลักสำหรับการควบคุมภาวะโภชนาการที่ต้องเกิดการปฏิบัติควบคู่กันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการควบคุมภาวะโภชนาการของวัยรุ่น
References
เบญจมาศ เผยกลาง, เบญจา มุกตพันธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายของหญิงวัยกลางคน อาศัยอยู่ที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562; 12: 51-61.
เยาวภา ติอัชสุวรรณ. (2563). พฤติกรรมการกินอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนนทบุรี และปัจจัยที่สัมพันธ์กัน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม - มิถุนายน 2563.
กรมอนามัย. (2562). รายงานประจำปี 2562 กรมอนามัย. https://planning.anamai.moph.go.th
กวินดา วิเศษแก้ว และเบญจา มุกตพันธุ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(2) Srinagarind Med J 2020; 35(2)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). พิธีเปิดงาน “สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม”. https://www.thaihealth.or.th/
จุฑามาศ เหลาพรม, พรพิมล ชูพานิช และเบญจา มุกตพันธุ์. (2558). การบริโภคอาหาร กิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรงและภาวะโภชนาการของสตรีวัยกลางคนในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(1), 317-325.
อภิญญา อุตระชัย, กริช เรืองไชย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานและภาวะโภชนาการของในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2561; (ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี): 95-102.
ศักดิ์ชาย ควรระงับ. (2557). กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวของบุคลากรของมหาวิทยาลัยพายัพ. พยาบาลสาร. VOL. 41 NO. 1 (2014): มกราคม - เมษายน 2557
Bloom B, Madaus GF, (1971).Hastings JT. Handbook on forma-tive and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill,
Charatcharoenwitthaya, P., Kuljiratitikal, K., Aksornchanya, O., Chaiyasoot, K., Bandidniyamanon, W., & Charatcharoenwitthaya, N. (2021). Moderate-Intensity Aerobic vs Resistance Exercise and Dietary Modification in Patients With Nonalcoholic Fatty Liver Disease: A Randomized Clinical Trial. Clinical and Translational Gastroenterology, 12(3).
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates,
Flack, K. D., Hays, H. M., Moreland, J., & Long, D. E. (2020). Exercise for weight loss: further evaluating energy compensation with exercise. Medicine and science in sports and exercise, 52(11), 2466.
Goldschmidt, A. B., Loth, K. A., MacLehose, R. F., Pisetsky, E. M., Berge, J. M., & Neumark‐Sztainer, D. (2015). Overeating with and without loss of control: Associations with weight status, weight‐related characteristics, and psychosocial health. International Journal of Eating Disorders, 48(8), 1150-1157.
Huxtable, A., Millar, L., Love, P., Bell, C., & Whelan, J. (2018). Parental translation into practice of healthy eating and active play messages and the impact on childhood obesity: a mixed methods study. Nutrients, 10(5), 545.
Masip, G., Keski-Rahkonen, A., Pietiläinen, K. H., Kujala, U. M., Rottensteiner, M., Väisänen, K., Kaprio, J., & Bogl, L. H. (2019). Development of a Food-Based Diet Quality Score from a Short FFQ and Associations with Obesity Measures, Eating Styles and Nutrient Intakes in Finnish Twins. Nutrients, 11(11).
Sherf-Dagan, S., Sinai, T., Goldenshluger, A., Globus, I., Kessler, Y., Schweiger, C., & Ben-Porat, T. (2021). Nutritional Assessment and Preparation for Adult Bariatric Surgery Candidates: Clinical Practice. Advances in nutrition (Bethesda, Md.), 12(3), 1020–1031. https://doi.org/10.1093/advances/nmaa121
World Health Organization. (2018). Noncommunicable diseases country profiles 2018.
Yu, Y., Kalarchian, M. A., Ma, Q., & Groth, S. W. (2021). Eating patterns and unhealthy weight control behaviors are associated with loss-of-control eating following bariatric surgery. Surgery for Obesity and Related Diseases, 17(5), 976-985.
รตนดา อาจวิชัย, วิมล เขตตะ และเกียรติศักดิ์ อ่อนตามา. (2562). ผลการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562.
Chow, S. C., & Liu, J. P. (2008). Design and analysis of clinical trials: concepts and methodologies (Vol. 507). John Wiley & Sons.
Institute of nutrition, Mahidol University. (2016). INMUCAL-Nutrients V.3 Program for Nutritional Calculation. Retrieved from: http://www.inmu.mahidol.ac.th/inmucalApp/detail.pdf
ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย; 8: 116-23.
Nimmagadda, S., Gopalakrishnan, L., Avula, R., Dhar, D., Diamond-Smith, N., Fernald, L., and Walker, D. (2019). Effects of an mHealth intervention for community health workers on maternal and child nutrition and health service delivery in India: protocol for a quasi-experimental mixed-methods evaluation. BMJ open, 9(3).
Izydorczyk, B., and Sitnik-Warchulska, K. (2018). Sociocultural appearance standards and risk factors for eating disorders in adolescents and women of various ages. Frontiers in psychology, 9, 429.
Rahimi, S., Peeri, M., Azarbayjani, M. A., Anoosheh, L., Ghasemzadeh, E., Khalifeh, N., and Salari, A. A. (2020). Long-term exercise from adolescence to adulthood reduces anxiety-and depression-like behaviors following maternal immune activation in offspring. Physiology & Behavior, 226, 113130.
Freedman, D., Pisani, R., and Purves, R. (2007). Statistics (international student edition). Pisani, R. Purves, 4th Edn. WW Norton & Company, New York.
World Health Organization. (2019). Obesity and overweight. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (25620). รายงานการประชุม. https://ayo.moph.go.th/main/index.php
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น