ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพฤฒพลัง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สมใจ อ่อนละเอียด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • Amornsak Poum Lecturer

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุพฤฒพลัง

บทคัดย่อ

วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปในทางที่เสื่อม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพฤฒพลัง ประชากรคือ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม ใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 420 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2564 โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.867 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.84±0.374, 3.55±0.347 ตามลำดับ ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพฤฒพลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน บุตรทำหน้าที่ดูแล การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามลำดับ ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

พฤฒพลัง จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง (P-value<0.001) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (P-value=0.001) ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ  (P-value<0.001) ระดับการศึกษา (P-value=0.003) ตามลำดับ โดยมีความแม่นยำในการพยากรณ์ ร้อยละ 14.1 (R2 =0.144)

ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขและชมรมผู้สูงอายุควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่จะช่วยให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2561.

United Nation, Department of Economic and social Affairs, Population Division. World Population Prospects: The 2015 Revision, United Nations: New York. 2015;pp.30.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. รายงานประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครปฐม 2562. เอกสารอัดสำเนา. 2563.

พรปวรณ์ ทรัพย์แก้ว. การศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 2559.

สุปราณี จินาสวัสดิ์. พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา. 2559.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังวัยเกษียณอายุการทำงานในจังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2560; 45: 30-42.

World Health Organization. [WHO]. Active ageing: A policy framework (WHO/NMH/NPH/02.8). [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564] จากhttp://www.unati.uerj.br/doc_gov/destaque/Madri2.pdf.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons. 2010.

Nutbeam, D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain. 2000.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall. 1977.

Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper. 1951.

ศิริพรรณ ชาญสุกิจเมธี. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540.

Phanpum, A., Sooknirundorn, S., Chanthaphinit, S., Nilbanphot, I.O., Poomphakwaen, K. Quality of Life of the Elders in Toobkob Village, Kokdu Sub-district, Mueang District, Loei Province. 1th National Conference in Science, Technology and Innovation 2019. 20 April 2019. Faculty of Science and Technology, Loei Rajabhat University. 2019.

ดรุณี ชุณหะวัต. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบมีส่วนร่วม : มิตรภาพบำบัด. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. 2549.

วิไลพร วงค์คีนี, โรจนี จินตนาวัฒน์, กนกพร สุคำวัง. ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2556; 40(4): 91-99.

ศิริพันธ์ สาสัตย์. รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2552.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2548.

Becker, M.H. The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs 1974; 2: 324-473.

Green, L. W. and Kreuter, M.W. Health promotion planning: and Environmental approach. Toronto: Mayfied Publishing. 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-26 — Updated on 2022-01-27

Versions