นโยบายและความพร้อมของการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษและสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • กิตติ เหล่าสุภาพ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ลักษณีย์ บุญขาว วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อรุณ บุญสร้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • จีราพร ทิพย์พิลา วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นิตยา ชาคำรุณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภาณี จันทร์ศิริ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สิทธิชัย ใจขาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

นโยบาย, นโยบาย ความพร้อม ศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์, ศูนย์กลางทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบาย ทิศทางการดำเนินงานและความพร้อมของโรงพยาบาลด้านการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ สำหรับชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้แทนหรือผู้รับผิดชอบงานการให้บริการสุขภาพข้ามแดนในโรงพยาบาล 9 แห่ง รวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจข้อมูลของโรงพยาบาลและแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

          ผลการศึกษา พบว่า ทั้ง 3 จังหวัดยังไม่มีนโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ แต่ได้มีการให้บริการสุขภาพข้ามแดนผู้ป่วยจาก สปป.ลาวและกัมพูชา พบว่าจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษและสุรินทร์มีความพร้อมรองรับการพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์โดยสามารถต่อยอดจุดเด่นและพัฒนาจุดด้อยของแต่ละจังหวัด แต่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งในด้านกฎหมายระหว่างประเทศ งบประมาณ การประสานงานระหว่างรัฐต่อรัฐ และพบว่าโรงพยาบาลกลุ่มเป้าหมายมีการเตรียมพร้อมรองรับการบริการสุขภาพข้ามแดนเบื้องต้นแล้ว แต่ต้องเพิ่มจำนวนแพทย์เฉพาะทาง พัฒนาด้านภาษาเพื่อการสื่อสารกับผู้มารับบริการต่างชาติ และจำเป็นต้องจัดหาครุภัณฑ์การแพทย์เพิ่มในบางโรงพยาบาล

            ดังนั้น จังหวัดควรจัดทำแผนเสนอรัฐบาลในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ พัฒนาโรงพยาบาลให้สามารถเตรียมพร้อมรองรับการบริการสุขภาพข้ามแดนโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านความเพียงพอของบุคลากรทางการแพทย์ ความสามารถในการสื่อสารของบุคลากรและความพร้อมของครุภัณฑ์ทางการแพทย์

References

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. Medical Hub ยกระดับไทยสู่ศูนย์กลางสุขภาพโลก [อินเทอร์เน็ต]. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน. 2564 [อ้างถึง 9 พฤศจิกายน 2021]. Available at: http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=7631&filename=index

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ(Medical Hub)(พ.ศ.2560-2569). 2 พิมพ์ครั้งที่. ปี 2560. กรุงเทพ: เอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2560.

ชัยนันต์ ไชยเสน. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรมการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับโรงแรม ในจังหวัดภูเก็ต. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2019;2019(5):262–82.

PEMADU Association. Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard | The Global COVID-19 Index (GCI) [อินเทอร์เน็ต]. 2019 [อ้างถึง 10 พฤศจิกายน 2021]. Available at: https://covid19.pemandu.org/?fbclid=IwAR2R6DRpKU36AW1aVWcF-IraKP6wa09jZN633w2YQSzsMEYm-g7TSgQYUTk

GHS Index. Thailand [อินเทอร์เน็ต]. GHS Index. 2019 [อ้างถึง 10 พฤศจิกายน 2021]. Available at: https://www.ghsindex.org/country/thailand/

CEOWORLD MAGAZINE. Revealed: Countries With The Best Health Care Systems, 2021 [อินเทอร์เน็ต]. CEOWORLD magazine. 2021 [อ้างถึง 10 พฤศจิกายน 2021]. Available at: https://ceoworld.biz/2021/04/27/revealed-countries-with-the-best-health-care-systems-2021/

กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (ต.ท.). ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่อง การสัญจรข้ามแดน. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 17 พฤศจิกายน 2021]. Available at: http://www.fad.moi.go.th/index.php.

ข้อมูลสถิติ : สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 10 พฤศจิกายน 2021]. Available at: https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/0/pull/category/view/list-label

ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร. ยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์(Medical Hub) กับสถานการณ์ที่สะท้อนผลกระทบต่อระบบ สุขภาพของประเทศไทย. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2018;2018(14):27–41.

พงศธร พอกเพิ่มดี. ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็ นเลิศทางการแพทย์ของโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษา ในภาพของประเทศในระยะ 5-10 ปี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;2563(29).

Thammarat Marohabutr. Medical Hub Policy of Thailand: Recommendations and Operational Integration to Mitigate the Impact on the Health System. 2020;20(4):150-163.

Thinakorn Noree, Johanna Hanefeld, Richard Smith. Medical tourism in Thailand: a cross-sectional study. Bull World Health Organ. 2016(94):30.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานบริการ. The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization) [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 17 พฤศจิกายน 2021]. Available at: https://www.ha.or.th/TH/Home

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03