การเคี้ยวหมากกับสุขภาพช่องปาก: กรณีศึกษา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วัฒนเสน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • นันทิยา รัมณีย์รัตนากุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

เคี้ยวหมาก, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท วัฒนธรรม ความเชื่อ เกี่ยวกับการเคี้ยวหมาก 2) ศึกษาความหมายของการ เคี้ยวหมาก 3) ศึกษาพฤติกรรมการเคี้ยวหมากและ 4) ศึกษาการรับรู้ถึงผลของการเคี้ยวหมากต่อสภาวะสุขภาพในช่องปาก ในอําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บข้อมูล โดยสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต และการศึกษาจากเอกสาร ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้เคี้ยวหมาก ผู้เคยเคี้ยวหมาก คนในครอบครัวหรือ ผู้ดูแล ผู้นําชุมชน ผู้สูงอายุ คนขายหมาก บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข รวม จํานวนทั้งหมด 73 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) พบว่า วัฒนธรรมการเคี้ยวหมากในอําเภอนางรอง มีการเคี้ยวหมากตั้งแต่สมัยโบราณ วัยกลางคน จนถึงผู้สูงอายุ อายุ 50-90 ปี อายุน้อยที่สุด 27 ปี ผู้หญิงมีการเคี้ยวหมากมากกว่าผู้ชาย พฤติกรรมการเคี้ยวหมาก วันละ 3-4 คํา ต่อวัน มากที่สุด 20 คํา เวลาที่เคี้ยวตื่นนอน,หลังอาหารเช้า-เย็น ก่อนเข้านอน เวลาพักผ่อน ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของหมากเป็นสื่อกลางในการพบปะสังสรรค์ ต้อนรับแขก นํามาประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ ความเชื่อด้านสุขภาพทําให้ไม่มีกลิ่นปาก สดชื่น ไม่เครียด ไม่ง่วงนอน ป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน การแสดงความรักของหนุ่มสาวแสดงเศรษ ฐานะของผู้ที่เคี้ยวหมาก ด้านแฟชั่นความงามที่นิยมฟันคําในผู้สูงอายุ ส่วนการรับรู้สุขภาพช่องปากภายหลังเคี้ยวหมากมีทั้งรับรู้ว่าสุขภาพช่อง ปากของตนเองดีขึ้นและรับรู้ถึงอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยวหมาก ไม่สามารถเลิกได้

References

สุทัศน์ ยกส้าน. หมากกับมะเร็งปาก. [อินเทอรร์เน็ต]. 2551 [เข้า ถึงเมื่อ 30 เมษายน 2558] เข้าถึงได้จาก: http://manager.co.th//Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000130467

ขวัญใจเอมใจ.วัฒนธรรมการกินหมาก สารคดี 2537;10(112):87-108.

ส านักบรรณาสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เซี่ยนหมากของคู่กายคนฟันด า. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2558] เข้าถึงได้จาก: http://library.stou.ac.th/ODI/mak/page_6.html

ปริญญา ผกานนท์.ผลของการกินหมากต่อสุขภาวะช่องปากของผู้สูงอายุตำบลคำน้ำแซบ อำเภอเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา; 2558. หน้า 91-96. [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2558Vol3No1_59.pdf

ส านักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการส ารวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่7 พ.ศ. 2555.กรุงเทพฯ: ส านักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผานศึก ่ ; 2556.

สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา และคณะ. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเคี้ยวหมากกับสุขภาพช่องปากในสตรี ชนบทจังหวัดขอนแก่น:

การศึกษาระยะที่ 2 วิทยาสารทันตสาธารณสุข2550;12(1):27-37.

สุพรรณี พรหมเทพ สุพจน์ คำสะอาด ภัทรวุฒิวัฒนศัพท์สุรพลเวียงนนท์กฤติกา สุวรรณรุ่งเรืองและกีรติภูมิผักแว่น. ปัจจัยเสี่ยงต่อการ

เกิดมะเร็งในคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

ศานิต สวัสดิกาญจน์ และ คณะ. ผลของสารสกดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการdประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553 หน้า 412-421.

สุพัตรา วัฒนเสน และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบของผู้สูงอายุที่เป็ นเบาหวานในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12(2):627-638.

Boonyaphiphat P, Thongsuksai P, Sriplung H, Puttawibul P. Life style habits and genetic susceptibility and the risk of esophageal cancer in the Thai population. Cancer Lett 2002 186(2):193-199.

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. รายงานผลการสำรวจสุขภาพช่องปากเขตพื้นที่บริการที่9 ครั้งที่6 พ.ศ. 2555. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา; 2556.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2558.

ประสาน สิงห์ทอง. การเคี้ยวหมากในวิถีชีวิตชาวผู้ไทยตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. [ปริญญาศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2540

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30