คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิออน ลีคะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานควบคุมป้องกันวัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานควบคุมป้องกันวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดขอนแก่น จากตัวอย่างจํานวน 156 คน จาก ประชากรทั้งหมด จํานวน 248 คน สุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ และตัวอย่างการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิง ปริมาณจํานวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคําถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 การวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งชุดได้ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาชเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้าน นโยบายและการบริหาร ด้านความสําเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ สามารถร่วมกันพยากรณ์ ปฏิบัติงานควบคุมป้องกันวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 54.6 (IR -0.546, p<0.001)

References

กระทรวงสาธารณสุข.(2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่1. อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพ, 2561

นครินทร์ ประสิทธิ์ และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา). 18(2) 65-77. 2561

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น, 2554

ปุลวัชร อาจโยธา และชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) เครือข่ายระดับตำบล พื้นที่ติดเขตชายแดนแม่น้ำโขงจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 10(1) :, 2560

พีรภัทร ไตรคุ้มดัน และประจักร บัวผัน. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบด้านข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล (HCSx P_PCU) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารส านักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 25(2), 2560

ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกนโรคของเจ้าหน้าที่สาธรณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมข. 14(2) 71-88, 2557

สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 14.(1). 89-104, 2558

สันติ อุทรังษ์ และประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานสุขศาลาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (บศ.), 17(3), 64-76, 2560

สิริสา เทียมทัน และประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกนและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมข. ฉบับบัณฑิตศึกษา. 18(1), 49-61, 2561

สิทองค์การอนามัยโลก. (2558) STAG-TB meeting in 2015. ค้นเมื่อ5 กันยายน 2561, จาก http//www.stoptb.org/countries/tbdata.asp.

Herzberg, F, Mausner, B, Snyderman, B.B. (1993). The Motivation To work.New York: Transaction Publishers.

Schermerhorn, R., Hunt ,G., & Osborn, N. Organizational Behavior. NewYork: JohnWily&Sons; 2003

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30