เชื้อวัณโรคปอด การพัฒนาแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคตามมิติสุขภาพและสังคมในทัณฑสถานบำบัดพิเศษแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เกษราภรณ์ บรรณวงศิลป์ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • มนูญ บรรณวงศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ระพีพัฒน์ อาราษฎร์
  • วิโรจน์ แต่งด้วง

คำสำคัญ:

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค, มิติสุขภาพ, สังคม, ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.) และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวทางป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคตามมิติสุขภาพและสังคมของผู้ป่วยวัณโรคในทัณสถานบำบัดพิเศษในเดือนพฤษภาคม 2561 ถึงเมษายน 2562 โดยกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 46 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ 3 คน อาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.) 30 คน และผู้ป่วยวัณโรคในปอด 13 คน

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ขั้นพัฒนาแนวทางป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค สะท้อนปัญหาการจัดระบบการดูแลที่ไม่ต่อเนื่อง ทั้งจากตัวผู้ต้องขังและอาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.) เสี่ยงต่อโอกาสที่จะรักษาวัณโรคให้หายขาด โดยการศึกษาด้านมิติสุขภาพและสังคม ครอบครัว และเพื่อนผู้ต้องขังได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา มีระบบคัดกรองการนำส่งวัณโรคติดตามถึงชุมชนของผู้ต้องขังที่ป่วยวัณโรคที่ชัดเจน 2) การพัฒนาแนวทางลงสู่การปฏิบัติได้แก่ 2.1) แนวทางพัฒนาผู้ต้องขังที่เป็นอาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.)ให้มีการอบรมความรู้ด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค การดูแลและรับประทานยา (DOT) โดยพบว่า ผู้ป่วย 13 คน รักษาหาย 11 คน คิดเป็นอัตราสำเร็จร้อยละ 84.61
ผลการประเมินด้านความรู้ก่อนและหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 ปฏิบัติตามแนวทางได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 95 2.2) แนวทางการคัดกรองผู้ต้องขังใหม่ตามการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคตามมิติสุขภาพและสังคม ทุกรายปฏิบัติตามแนวทางได้ ร้อยละ 100

References

ศิรินภา จิตติมณี, นิภา งามไตรไร. แนวทางการเร่งรัดการควบคุมวัณโรคในเรือนจำของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2552.

สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินมาตรฐาน “คลินิกวัณโรคที่มีคุณภาพ” ปีงบประมาณ พ.ศ.2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2556.

โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2561.(เอกสารอัดสำเนา)

ทัณฑสถานพิเศษขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2561.

ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์. (2555). การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการความเสี่ยงด้านคลินิกตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยนอกของพยาบาลโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มณีรัตน์ อวยสวัสดิ์. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคอย่างมีส่วนร่วม อำเภอ

สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552

Carpenter Group LLC. (2009). The Deming Cycle or PDSA and PDCA. Retrieved from www.quality-improvement-matters.com

พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ, ชลดา ยวนแหล, ผกาวัลย์ แดหวา. การดำเนินงาน DOT (Directly-Observed Treatment) โดยมอบหมายการเป็นพี่เลี้ยงให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติผู้ป่วย: รูปแบบของศูนย์วัณโรคเขต 11 นครศรีธรรมราชในปีงบประมาณ 2542-2543. สงขลานครินทร์เวชสาร 2545;20:69-78.

บุญยัง ฉายาทับ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทัณฑสถาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตมหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

อมรรัตน์ วิริยะประสพโชค, จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน, จิราภรณ์ วงศ์ใหญ่, ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ. ลักษณะและผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคจากเรือนจำ และผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(2):1-9.

Denzin, N. K. Sociological Methods: A source Book. Chicago: Aldine; 1970.

Jacobson, B. Modern Organization. New York: Knefp; 1986.

ปรียา สินธุระวิทย์, วันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาสจังหวัดสกลนคร.วารสารสมาคมพยาบาลฯภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 30(3):87–94.

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด,สุพร กาวินำ.การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารสาธารiสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558;10(1):1–14.

วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร, สรญา แก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอด ของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.

ศรีเกษ ธัญญาวินัชกุล, ระวี ยกบัตร. ความไวของแบบคัดกรองวัณโรคสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารล้านนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03