พฤติกรรมและปัจจัยเชิงสาเหตุในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศุภกิจ ศรีสำราญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย, ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ประชาชน, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย พร้อมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ประชาชนโดยคัดเลือกอย่างเจาะจงในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร จำนวน 3 กลุ่มๆ ละ 8 คน รวม 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยยังมีลักษณะเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การมุ่งเน้นการเผาขยะมูลฝอย การนำขยะมูลฝอยไปทิ้งในพื้นที่สาธารณะ และไม่คัดแยกขยะมูลฝอย โดยมีปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมที่มาจากปัจจัยภายในตัวบุคคลที่สำคัญ ได้แก่ การขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย และการมีเจตคติเชิงลบต่อการจัดการขยะมูลฝอย แนวทางการแก้ไข คือ ประชาชนทุกคน ทุกครัวเรือนจะต้องช่วยกันในการแก้ไขปัญหา โดยการมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในชุมชนเป็นหน่วยงานในการสนับสนุน

การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนที่คำนึงถึงปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 2 ประการดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และนำไปสู่การกำหนดมาตรการในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสมต่อไป

 

References

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนสิริปริ้นติ้ง จำกัด; 2563.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2560.

กรมควบคุมมลพิษ. แผนแม่บท การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด; 2559.

สกุลรัตน์ โทนมี, รัชนีกร จันสน, วิภาดา ศรีเจริญ, พิสมัย กลอนกลาง, นงลักษณ์ เจริญไพบูลย์ลาภ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(2): 32-44.

นภัส น้ำใจตรง, นรินทร์ สังข์รักษา. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในตำบล กระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารชุมชนวิจัย 2562; 13(1): 179-190.

กัญธณิฌาศ์ วัฒน์พานิชกุล. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสหศาสตร์ 2562; 19(2): 55-72.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, บรรณกร เสือสิงห์, วัฒนศักดิ์ จันทร์แปลง, วิเชียร พุทธภูมิ, บุญชนัฎฐา พงษ์ปรีชา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของแม่บ้านในอําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2561; 20(1): 203-212.

Palys T. Purposive sampling. In L. M. Given (Ed.) The sage encyclopedia of qualitative research methods. (Vol.2). Los Angeles: Sage 2008; pp. 697-698.

Guest G, Namey EE, Mitchell ML. Collecting qualitative data: a field manual for applied research. Newbury Park, CA: Sage Publications Inc; 2012.

ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสกลนคร. คำสั่งจังหวัดสกลนคร ที่ 39/2564 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19); 2564.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น; 2559.

ณัชชลิดา ยุคะลัง, จารุวรรณ วิโรจน์, กู้เกียรติ ทุดปอ, นิรุวรรณ เทริน์โบล์. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่มีการขยายชุมชนอย่างรวดเร็ว: กรณีศึกษาชุมชนข้างเคียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(1): 632-638.

Bloom BS. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay; 1964.

ธีระพงษ์ จองหยิน, นิสา พักตร์วิไล, วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา, อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์. ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลพุคำจาน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ; 2561. 11(2): 40-46.

ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม. แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: เทศบาลนครนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์; 2562.

ยุพา อุดม, ชัญญา อภิปาลกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการคัดแยกขยะมูลฝอยครัวเรือนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลพระยืนมิ่งมงคล อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10(1): 191-198.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02