การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี ของประชาชน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • Prasit สงกันหา Kalasin Provincial Public Health Office

คำสำคัญ:

โรคพยาธิใบไม้ในตับ, มะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 141 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กระบวนการกลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และ Dependent t-test

          ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี ระดับความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งภาพรวมและรายด้าน สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรม เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพทั้งภาพรวม และรายด้านสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: โรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี

References

โกศล รุ่งเรืองชัย. พยาธิใบไม้ตับ...ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดี [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึง 10 พฤษภาคม2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=779

กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อนำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอุดลเดชเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในปีพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตามยุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559 - 2568. กระทรวงสาธารณสุข, 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ฐานข้อมูลการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ. กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. 2562.

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอกมลาไสย. แผนยุทธศาสตร์คปสอ.กมลาไสย, 2562.

ณัฎฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ และสรญา แก้วพิทูลย์. พยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย. วาสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 12(1). 2553.

สุชาติ อนันตะ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานสาธารณสุขโดยการประยุกต์ใช้เกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริการภาครัฐ (PMQA) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2(1) 2563: 31 - 40.

กิตติยา คาจันทร์, นพรัตน์ ส่งเสริม, ภัทรภร เจริญบุตร. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี ในอำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564: 60 - 69

อังษณา ยศปัญญา, สุพรรณ สายหลักคำ, บุญจันทร์ จันทร์มหา , เกษร แถวโนนงิ้ว. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับจังหวัดเลย ปี 2556. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2558: 89- 97.

ชื่นพันธ์ วิริยะวิภาต, เกษร เถาโนนงิ้ว, วันทนา กลางบุรัมย์. ทำการศึกษาความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยปี 2556. วารสารควบคุมโรค. 41(1) , 2558: 77 – 86.

Parichat Saenna, Cameron Hurst, Pierre Echaubard, Bruce A. Wilcox, and Banchob Sripa. Fish sharing as a risk factor for Opisthorchis viverrini infection: evidence from two villages in north-eastern Thailand. Saenna et al. Infectious Diseases of Poverty (2017) 6:66:1-9.

ปรัชญา รักษานา. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร. 9. 25(2) 2562: 45-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21 — Updated on 2022-01-21

Versions