การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในร้านชำเขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อัจฉรีย์ สีหา โรงพยาบาลกมลาไสย
  • วรรณภา ศักดิ์ศิริ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสย

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง, การจำหน่ายยา, ร้านขายของชำ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในร้านชำเขตอำเภอกมลาไสย โดยเพิ่มเครือข่ายในการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มี 4 ระยะ ระยะที่ 1 ขั้นตอนการวางแผน ศึกษาข้อมูลอุบัติการณ์การจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำ อบรมให้ความรู้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และทบทวนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่งานคุ้มครองผู้บริโภค ระยะที่ 2 ขั้นตอนปฏิบัติ ดำเนินการตามกระบวนการที่ตกลงร่วมกัน โดยสำรวจร้านชำเป็นทีมร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำผู้ประกอบการ มีการติดตามสำรวจร้านชำอีก 2 ครั้ง ระยะห่าง 1 เดือน
เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ระยะที่ 3 ขั้นตอนการสังเกต โดยศึกษาอุบัติการณ์การจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำ ระยะที่ 4 ขั้นตอนการสะท้อนกลับ ส่งต่อข้อมูลการมีกระบวนการร่วมกันให้แต่ละพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล

ผลการศึกษา: จากการระดมความคิด มีความคิดเห็นตรงกันคือ ให้ อสม.มาช่วยในการสำรวจร้านชำโดยให้ความรู้ก่อนลงพื้นที่ ส่งจดหมายข่าวการใช้ยาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ใหญ่บ้าน
ทุกหมู่บ้าน และมีคนประสานงานให้การเฝ้าระวังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

สรุป: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นร่วมกันในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในร้านชำ เป็นการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำ ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ และ อสม. ในการช่วยดูแลสอดส่อง เฝ้าระวังและให้คำแนะนำร้านชำ โดยพบว่า รูปแบบนี้ช่วยลดการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมได้ และได้ร้านชำต้นแบบทั้งหมด 22 ร้าน

 

References

ลือชัย ศรีเงินยวง. การมีส่วนร่วมของชุมชน:ยุทธศาสตร์ใหม่ของการพัฒนา.(สาธารณสุข)ชนบท ในรวมบทความพัฒนางานสาธารณ สุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

นุชรินธ์ โตมาชา. ปัญหายาในชุมชนและทางออก : ข้อมูล 13 จังหวัด ยืนยันความเสี่ยงจากยาไม่เหมาะสมในชุมชน. ยาวิพากษ์. [ออนไลน์]. 2556 [2564 กุมภาพันธ์ 4] ; แหล่งที่มา : http://www.thaidrugwatch.org/download/series/series17.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. [ออนไลน์]. 2553 [2564 กุมภาพันธ์ 4] ; แหล่งที่มา : http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%c04-20- 9999-update.pdf

คณะทำงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยในชุมชน. การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิกรุกในชุมชน [ออนไลน์]. [2564 กุมภาพันธ์ 5] ; แหล่งที่มา : http://wwnno.moph.go.th/pharmacy/images/pdf/2020/01/RDU24.12.62.pdf

วิษณุ ยิ่งยอด. การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. [ออนไลน์]. 2560 [2564 กุมภาพันธ์ 4] ; แหล่งที่มา : http//C:/Users/HP/Downloads/FCPL1-all.pdf

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2558;2(1):29-49.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, ชญาภา วันทุม. การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2560;11(2):105-111.

ธนพงษ์ ภูผาลี และคณะ. รูปแบบการพัฒนาร้านชำแบบชุมชนมีส่วนร่วม ต.โพนสูง จ.สกลนคร. วารสารอาหารและยา. 2557.

ปัทมาพร ปัทมาสราวุธ, รุ่งทิวา หมื่นปา. การพัฒนาร้านชำต้นแบบจากโครงการประชารัฐร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(3):601-611.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03