การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานของการจัดบริการสุขภาพอย่างบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคเรื้อรังของหน่วยบริการภายใต้เครือข่ายบริการปฐมภูมิ และหน่วยบริการที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิของอำเภอเมือง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • ฉัตรชัย ขวัญแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • พุทธิพงศ์ บุญชู วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

การประเมินผลลัพธ์, การจัดบริการสุขภาพ, บริการปฐมภูมิ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บริการสุขภาพปฐมภูมิ ถือว่าเป็นกลยุทธ์และแนวคิดที่สำคัญที่จะสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพและช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานของการจัดบริการสุขภาพอย่างบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคเรื้อรังของหน่วยบริการภายใต้เครือข่ายบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิของอำเภอเมือง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนและรับบริการรักษาเป็นประจำจากหน่วยบริการทั้ง 2 ประเภทๆ ละ 100 คน เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเครเมอร์วี การทดสอบไคสแควร์ และ Independent t-test

ผลการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ผู้ให้บริการระหว่างหน่วยบริการภายใต้เครือข่ายบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาเป็นประจำกับหน่วยบริการภายใต้เครือข่ายบริการปฐมภูมิทราบชื่อเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหมอครอบครัว และได้รับบริการและการดูแลจากหมอสาธารณสุข หรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวคนเดิมทุกครั้งสูงกว่าหน่วยบริการที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขึ้นทะเบียนและรับบริการจากหน่วยบริการภายใต้เครือข่ายบริการปฐมภูมิรับรู้คุณภาพการดูแลจากผู้ให้บริการสูงกว่าผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาเป็นประจำกับหน่วยบริการที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

World Health Organization. Health for All by the Year 2000. Geneva: World Health Organization; 1978.

World Health Organization. Primary Health Care: A Framework for Future Strategic Directions. Geneva: World Health Organization; 2003.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, บำรุง ชลอเดช, พฤกษา บุกบุญ. สถานการณ์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิพ.ศ.2547 – 2558. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.); 2558.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และประชาทิป กะทา. ปรัชญาสุขภาพปฐมภูมิ. นิตยสารสุขศาลา. 2015; 1(1): 42-47.

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล และคณะ. รายงานการติดตามโครงการติดตามประเมินผลนโยบายคลินิกหมอครอบครัว. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส); 2558.

โสภณ เมฆธน. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Bervick D, et al. The triple aim: health, care, and cost. Health Affairs 27; 3: 759-769.

คณะทำงานขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบบริการ. แนวทางการดำเนินงาน Primary care cluster สำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 56 ก. (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562).

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ฉัตรชัย ขวัญแก้ว, เสาวลักษณ์ คงสนิท. วิจัยนำร่องการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2562.

Hatcher L, O’ Rourke N. Minimal sample size requirement. In: A step-by-step approach to Using the SAS system for factor analysis and structural equation modeling. North Carolina: SAS Institute Inc; 2014. p. 9.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา; 2561.

Gomutbutrab P, Aramrat A, Sattapansri W, Chutima S, Tooprakai D, Sakarinkul P, Sangkhasilapin Y.Reliability and validity of a Thai version of assessment of chronic illness care (ACIC). J Med Assoc Thailand. 2012; 95(8): 1105-13.

Zeugfang D, Wisetborisut A, Angkurawaranon C, Aramrattana C, Wensing M, Szecseny J, Krung K. Translation and validation of the PACIC+questionnaire: the Thai version. BMC Family Practice; 19: 123. Doi.org/10.1186/s12875-018-0801-y

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ฉัตรชัย ขวัญแก้ว, พุทธิพงษ์ บุญชู, เสาวลักษณ์ คงสนิท. รายงานการวิจัยประเมินและถอดบทเรียนการดำเนินงานของ PCC ตามแนวคิด เรื่อง การจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางพร้อมสำรวจความคิดเห็นของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ต่อกระบวนการจัดบริการที่ได้รับ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2563.

วัสนา ศรีวิชัย. การสำรวจการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวในจังหวัดตาก: ความคาดหวังการได้รับบริการสุขภาพ และความพึงพอใจ ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล. บูรพาเวชสาร. 2561; 5(1): 64-82.

วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย (บรรณาธิการ). ถอดบทเรียน DHS South การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง. สงขลา: มูลนิธิสุขภาพภาคใต้; 2562.

World Health Organization. Framework on integrated, people-centered health services report by The secretary. Sixty-Ninth World Health Assembly, Provision agenda item 16.1; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03