สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้า หมาย ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ผู้ดูแลหลัก กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ให้บริการ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ระเวลาดำเนินการเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม พ.ศ 2564
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยมีการจัดการดูแลตนเอง 4 ด้านคือ 1. ด้านอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (=3.12, S.D.=0.40) มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม 2. ด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับ
ปานกลาง (=3.26, S.D.=0.66) ออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับวัยและโรค 3. ด้านการใช้ยาอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.75, S.D.=0.38) โดยรับประทานยาตามแผนการรักษา 4. ด้านการจัดการความเครียด
อยู่ในระดับปานกลาง (=3.26, S.D.=0.59) 2) ผู้ดูแลหลักขาดความรู้และให้การดูแลผู้ป่วยไม่เหมาะสม 3) ผู้นำชุมชนไม่รู้บทบาทที่ชัดเจนของการมีส่วนร่วมในการดูแล 4) กลุ่มผู้ให้บริการขาดแนวทางการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาแนวทางในการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล อสม. และผู้นำชุมชน
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดีย ; 2560.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
Barr, et al. The Expanded Chronic Care Model: an Integration of Concepts and Strategies from Population Health Promotion and the Chronic Care Model. Hospital Quarterly. 2003; 7(1): 73-82.
ปวีณา อุดรไสว, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจารย์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(3): 97-110.
นุจิฬาภรณ์ ศิริไมย, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(3): 57-70.
จุฑาพงศ์ เตชะสืบ, วราภรณ์ บุญเชียง, รังสิยา นารินทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาพยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสาร. 2563; 47(2): 111-121.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา, จุฑามาศ สุขเกษม. พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560; 28(2): 93-103.
ยุฑามาส วันดาว, ทิพมาส ชิณวงศ์, อุดมรัตน์ ชโลธร, อรุณี ทิพย์วงศ์. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561; 38(3): 52-64.
สุรัตนา ทศนุต, เบญจมาศ ศิริกมลเสถียร. การศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559; 10(2): 29 -40.
วรวาส เลิศฤทธิ์. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
มัณฑริกา แพงบุดดี, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชน ตำบลหนองแดง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(3): 179-191.
หทัยรัตน์ กันหาชิน, เพชรไสว ลิ้มตระกูล. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563; 38(3): 186-195.
อังสุมาลิน กรมทอง, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ศูนย์สุขภาพชุมชน เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(3): 29-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น