ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ของแพทย์แผนปัจจุบันในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การจ่ายยาสมุนไพร, ยาสมุนไพร, ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติบทคัดย่อ
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แต่ผลการดำเนินงานยังไม่บรรลุเป้าหมาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของแพทย์แผนปัจจุบันที่ปฏิบัติงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดปทุมธานี ใช้แบบสอบถามออนไลน์ชนิดตอบ
ด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ทัศนคติเกี่ยวกับสมุนไพร ความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ระบบโรงพยาบาล และอุปสรรคของการจ่ายยาสมุนไพร วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้ chi-square, Fisher’s exact test และ การถดถอยโลจิสติกส์
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 105 คน ส่วนใหญ่ทราบว่าสามารถสั่งจ่ายยาสมุนไพรได้ และเคยสั่งจ่าย ร้อยละ 75.23 มีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรอยู่ในระดับดี และร้อยละ 71.43 มีทัศนคติเกี่ยวกับยาสมุนไพรในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ คือ ประสบการณ์ใช้ยาสมุนไพรด้วยตนเอง (odds ratio = 11.270, 95%CI = 2.838-44.752, p-value 0.001) และความต้องการสั่งจ่ายยาสมุนไพร (odds ratio = 5.397, 95%CI = 1.321-22.051, p-value 0.019) อุปสรรคที่สำคัญที่สุด ได้แก่ แพทย์ไม่ทราบขนานยาและสรรพคุณ
กลยุทธ์ส่งเสริมการสั่งจ่ายยาสมุนไพรควรมีการเผยแพร่หลักฐานเชิงประจักษ์ของสรรพคุณยาสมุนไพรแก่แพทย์แผนปัจจุบันรวมอยู่ด้วย
References
เอกสารอ้างอิง
ไทย.กฎหมาย, พระราชบัญญัติ ฯลฯ. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไข พ.ศ.2562. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก ลงวันที่ 16 เมษายน 2562.
คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2564 ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 165 ง ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปภัมถ์; 2559.
คณะกรรมการการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท. แผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550-2554. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2552.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปภัมถ์; 2555.
วิชัย โชควิวัฒน, บรรณาธิการ. ระบบยาของประเทศไทย 2563. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์; 2564.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2562 รอบที่ 1. ม.ป.ท.; 2562.
Isarael GD. Determining sample size. [Internet]. 2003 [cited 2022 Feb 25]; Available from https://www.tarleton.edu/academicassessment/documents/samplesize.pdf
นภัสรัญชน์ ฤกษ์เรืองฤทธิ์ . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
Uebersax JS. Likert scales: dispelling the confusion. Statistical Methods for Rater Agreement [internet] . 2006 [cited 2019 Sep 30]; Available from: http://john-uebersax.com/stat/likert.html
คัทลียากรณ์ ไวโอเร็ต . การประเมินการใช้ยาสมุนไพรและความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการใช้ในโรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2552.
อรุณพร อิฐรัตน์. ความรู้ ทัศนคติ ความพร้อมและพฤติกรรมการใช้สมุนไพร ตามโครงการสาธารณสุขมูลฐานของบุคลากรทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2541.
คัคนางค์ โตสงวน , ณัฏฐิญา ค้าผล , มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , เนติ สุขสมบูรณ์ , วันทนีย์ กุลเพ็ง , ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ . ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อยาจากสมุนไพรและ นโยบายการส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554;5(4):513-21.
จารุรัตน์ เพ็ชรสงฆ์ . ปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายยาจากสมุนไพรของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2544.
ธีราวุฒิ มีชำนาญ . การประเมินการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนไทยของสถานพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเภสัชกรรมไทย 2558;2:167-77.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น