การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รุจิรา จันทร์หอม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การบริบาลฟื้นสภาพ, ผู้ป่วยระยะกลาง, เครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง เป็นการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ แต่ก็ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนและมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรชีวิตประจำวัน ที่ต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จากทีมสหวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง เครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2561-กันยายน 2562 กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน และผู้ป่วยระยะกลาง จำนวน 760 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ โปรแกรม Nemocare และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางของเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) การประเมิน Barthel Index และความบกพร่องของร่างกาย โดยโรงพยาบาลแม่ข่าย
2) การส่งต่อและสื่อสารข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรม Nemocare 3) โรงพยาบาลลูกข่ายประเมินสภาพผู้ป่วย และวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้ป่วย 4) การติดตาม กำกับ และประเมินภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและบันทึกข้อมูลในโปรแกรม Nemocare และ 5) คืนข้อมูลให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยม มีอาการดีขึ้น ร้อยละ 69.90 และได้รับการติดตามจนครบ 6 เดือนหรือ Barthel Index (BI) = 20 ร้อยละ 65.40

จากผลการศึกษาครั้งนี้ ได้รูปแบบการฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่เหมาะสมกับบริบทและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติแล้วส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย: การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ศูนย์ประสานการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พัฒนางานสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2564. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2564.

รัชวรรณ สุขเสถียร. การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันแบบผู้ป่วย ใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์. J Thai Rehabil Med. 2557; 24(2):37-43.

องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ.โรงพิมพ์แห่งจุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ; 2551.

Stringer ET. Action Research (3rd). 3rd ed.Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 2007.

MacDonald, C. Understanding Participatory Action Research: A Qualitative Research Methodology Option. Canadian Journal of Action Research. 2012;13(2):34-50

สุวิณี วิวัฒน์วานิช, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ความพร้อมและความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ สังกัด กระทรวงสาธารณสุข การสำรวจแบบวันเดียว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2555.

ปิยาภรณ์ หอมกลิ่น. ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วย

โรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน ในหน่วยงานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุรินทร์.วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 2564;8(3):74-82.

บุษรินทร์ พูนนอก. รายงานการศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care). เขตสุขภาพที่ 9 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์); 2563.

ธัญพร ชื่นกลิ่น, นงณภัทร รุ่งเนย, นภัส แก้ววิเชียร, เบญจพร สุธรรมชัย, วิชาญ เกิดวิชัย, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. การประเมินผลการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุในประเทศไทยตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

ธนาวรรณ แสนปัญญา, ลักษณ์ ปภินวิชกุล, หัสยาพร อินทยศ, กฤติธี อุดธรรมไชย. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยระยะกลางกลุ่มผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด. วารสาร โรงพยาบาลแพร่. 2564;29(2):15-33.

สุกัญญา ยงสว่าง, ธนวรรณ สินประเสริฐ, ปราณี เตชรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2558;34(3):236-47.

พัชรฉัตร ภูมิสถาน. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนอกและเอวหักกดทับไขสันหลังที่ไต้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังและการดูแลต่อเนื่องในระยะกลาง : กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวช สาร.2563;40(1):173-87.

ประธาน ศรีจุลฮาด. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง อำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(3):229-32.

Deutsch A, Granger CV, Heinemann AW, Fiedler RC, DeJong G, Kane RL, et al. Poststroke rehabilitation: outcomes and reimbursement of inpatient rehabilitation facilities and subacute rehabilitation programs. Stroke. 2006;37(6):1477-82.

Khiaocharoen O, Pannarunothai S, Riewpaiboon W, Zungsontiporn C. Rehabilitation service development for sub-acute and non-acute patients under the universal coveragescheme in Thailand. Journal of Health Science. 2015;24(3):493-509.

นันทกาญจน์ ปักษี, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, สุปรีดา มั่นคง, สิริรัตน์ ลีลาจรัส. ผลของโปรแกรมการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความ พร้อมในการดูแลความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล. Rama Nurs J. 2559;22(1):65-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02