การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานอนามัยมารดาและทารก จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพการดำเนินงานบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานอนามัยมารดาและทารก จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรผู้ให้บริการ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานอนามัยมารดาและทารก ในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 49 คน เครือข่ายท้องถิ่น จำนวน 182 คน และสตรีตั้งครรภ์ จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบ มี 5 ข้อ ข้อ1การพัฒนาการดำเนินงานอนามัยมารดาและทารก มี 5 มาตรการ
1) ระยะตั้งครรภ์ เพิ่มการรับรู้และพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยง 2) ระยะก่อนคลอด สร้างความตระหนักของความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด 3) ระยะหลังคลอด มีระบบการจัดการความเสี่ยงหลังคลอด พัฒนาระบบการส่งต่อ 4) การเยี่ยมบ้านเชิงรุก ใช้หลักการ Home Ward เน้นให้ญาติดูแล อสม.เฝ้าระวัง ทีมหมอครอบครัวเป็นที่ปรึกษา 5) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ข้อ 2ผลการพัฒนาคุณภาพกระบวนการดำเนินงาน อยู่ระดับปานกลาง (Mean=3.22, SD=1.12)ข้อ 3 การมีส่วนร่วมของเครือข่ายท้องถิ่นอยู่ระดับปานกลาง (Mean=3.29, SD=1.33)
ข้อ 4 สตรีตั้งครรภ์สามารถรับรู้พฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงระดับสูง (Mean=3.77, SD=0.89)
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<0.05 จำนวน 19 ปัจจัย จาก 25 ปัจจัย ข้อ 5 ผลลัพธ์การดำเนินงานอนามัยมารดาและทารก
ผ่านเกณฑ์ชี้วัด จำนวน 11 ตัว (ร้อยละ 84.61)ซึ่งมากกว่าก่อนพัฒนา
สรุป ผลการพัฒนาการดำเนินงานอนามัยมารดาและทารกใน 5 มาตรการ การดำเนินงานมีคุณภาพและมีผลลัพธ์งานมากกว่าก่อนพัฒนา
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]. จาก https://rh.anamai.moph.go.th
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. การพัฒนาคุณภาพบริการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อลดอัตราตายมารดาจากการคลอด ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2561.[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]. จาก http://www.nongbualamphu.go.th
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการตรวจราชการ และการนิเทศงาน กรณีปกติ จังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2562-2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]. จาก http://www.nongbualamphu.go.th
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 2560: 496-507.
Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons, 1995.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119/ตอน 116 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545.
สุมาลี กลิ่นแมน, ธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล. การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 2564;15(35): 115-128.
กรรณิกา เพ็ชรักษ์, อุตม์ชญาน์ อินทเรือง, ฝนทอง จิตจำนง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562; 34(1): 87-100.
สุดานี บูรณเบญจเสถียร. ประสิทธิผลของการดูแลสตรีตั้งครรภ์ตามมาตรการการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลแม่จัน. เชียงรายเวชสาร 2560; 9(2): 41-52.
อัสมะ จารู. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561.
DeVon HA, Block ME, Moyle-Wright P, Ernst DM, Hayden SJ, Lazzara DJ. et al. A PsychometricToolbox for testingValidity and Reliability. Journalof Nursingscholarship 2007;39 (2): 155-164.
Ahishakiye A, Abimana MC, Beck K, Miller AC, Betancourt CS, Magge H, et al. Developmental Outcomes of Preterm and Low Birth Weight Toddlers and Term Peers in Rwanda. Annals of Global Health 2019; 85(1);147: 1–11. [Cited 2021 December 15]. Available from: DOI: https://doi.org/10.5334/aogh.2629.
พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, รัศมีแข พรหมประกาย, เพียงเพ็ญ สร้อยสุวรรณ, ขวัญฤดี โกพลรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2560; 32(2): 117-129.
กัลยา มณีโชติ, นิจ์สากร นังคลา. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล 2560; 44(2): 7-24.
รัศมี พิริยะสุทธิ์, สุนันทา สงกา, พณาวรรณ พาณิชย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 2561; 4(2): 377-387.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น