ผลของโปรแกรมโยคะอาสนะต่ออาการท้องอืดในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศุภนิดา ทองดวง -
  • สันติสิทธิ์ เขียวเขิน
  • พัดชา หิรัญวัฒนกุล

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุวัยต้น, โยคะอาสนะ, อาการท้องอืด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโยคะอาสนะต่ออาการท้องอืดในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 37 ราย และกลุ่มควบคุม 43 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมโยคะอาสนะ ร่วมกับการนวดไทยแบบราชสำนัก และกลุ่มควบคุมได้รับเพียงการนวดแบบราชสำนัก เก็บข้อมูลจากแบบประเมินอาการท้องอืดก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลของโปรแกรมโยคะอาสนะ ด้วย Paired sample t-test และ Independent sample t-test

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้สึกท้องอืดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีอาการท้องอืดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้น โปรแกรมโยคะอาสนะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เพิ่มการนวดกระตุ้นช่องท้อง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี และบรรเทาอาการท้องอืดได้

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.dtam.moph.go.th/internet/dtamdownload/Book%20Phet%20Thai.pdf. [สืบค้นเมื่อวัน 17 มกราคม 2563].

ประพจน์ เกตรากาศ. (2557). ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยกับทฤษฎีการแพทย์แผนปัจจุบัน. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 12(2), 167–169.

พินิต ชินสร้อย. (2555). การนวดไทยแบบราชสำนัก ตำราสมุฏฐานโรคและการวินิจฉัย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

WHO. (2017). Ageing and health. [Online]. Form: https://www.who.int/news- room/fact-sheets/detail/ageing-and-health. [Retrieved November 18, 2020].

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติกรมกิจการผู้สูงอายุ. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.[สืบค้นเมื่อวันที่17 มกราคม 2563].

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2548). คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทิกษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

พจมาน ศรีนวรัตน์. (2560). การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะทัตยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นวลนภา เอื้อจิตต์, แพรพลอย ฉัตรชัยนพคุณ และศุภะลักษณ์ ฟักคำ. (2545). ความพึงพอใจการใช้ยาสมุนไพรไทย ขิงในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดแน่นท้องของแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลมโนรมย์. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลมโนรมย์.

วโรชา มหาชัย. (2545). เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรจากความรู้พื้นฐานสู่เวชปฎิบัติ. กรุงเทพฯ:

สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา, เฉลิมศรี ภุมมางกูร และสุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์. (2562). แนวทางการรักษาภาวะย่อยอาหารผิดปกติไร้เหตุทางกายสำหรับเภสัชกรชุมชน. เภสัชศาสตร์อีสาน, 15(2), 1–16.

อรอนงค์ ทัพสุวรรณ์. (2559). บทบาทของพยาบาลในการจัดการกับภาวะท้องอืดในผู้ป่วยศัลยศาสตร์ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง. เวชบันทึกศิริราช: บทความทั่วไป, 189-193.

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2551). คำศัพท์-คำย่อ ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: N P Press Limited Partnership.

Sneha A. Tayade & Vaishali D. Bhosale. (2017). EFFECT OF YOGASANA ON DIGESTIVE SYSTEM. International Ayurvedic Medical Journal, 5(3).

สิริพิมล อัญชลิสังกาศ. (2547). คู่มือโยคะวัยรุ่นสำหรับฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง. นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

Linda Rabeneck. (2001). SODA (severity of dyspepsia assessment) A new effective outcome measure for dyspepsia-related health. Journal of Clinical Epidemiology, 54(8), 755-765.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กลิ่นชบา สุวรรณรงค์, นารีรัตน์ ทองยินดี, ดวงตา กุลรัตนญาณ และอณิมา จันทรแสน. (2556).

การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยก่อน ระหว่าง และหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 11(2), 82-97.

Dharmesh Kaswala. (2013). Can yoga be used to treat gastroesophageal reflux disease?. International Journal of Yoga, 6(2), 131-3.

Leora Kuttner. (2006). A randomized trial of yoga for adolescents with irritable bowel syndrome. Pain Res Manage, 11(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02