ผลของการให้ทันตสุขศึกษาผ่านสื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วีรพันธ์ ใจแก้ว โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น
  • จตุพร ตันเจียง กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น
  • กานต์กมล ผลาผล กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, การดูแลสุขภาพช่องปาก, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 38 คน วัดผลก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ และการดูแลสุขภาพช่องปาก แบบสอบถามทัศนคติการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Pair sample t-test และ Independent sample t-test

          จากการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การให้ทันตสุขศึกษาผ่าน
สื่อวีดิทัศน์ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลชนบท. รายงานสภาวะช่องปากของนักเรียนในงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพระดับโรงเรียน อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2560. ขอนแก่น; 2561.

นงนุช ใจชื่น, สิรินทร์ยา พูลเกิด, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, ทักษพล ธรรมรังสี. การซื้อและการบริโภคอาหารและเครื่องมือของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2556; 7(1): 137-150.

สุกัญญา บัวศรี, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, อนงค์ สุนทรานนท์. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผักและผลไม้ของเด็กวัยเรียนในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร 2563; 47(2): 24-36.

กมลวรรณ มุลเมืองแสน. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และการแปรงฟัน ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [รายงานวิจัย]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561.

สุภาพิมพ์ ใจเย็น. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหนองยวน อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. [รายงานวิจัย]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2563.

กรรณชนก คงเสน. ประสิทธิผลของการให้ทันตสุขศึกษาผ่านสื่ออินโฟกราฟิกต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. [รายงานวิจัย]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2563.

จิรัศยา สุพรรณา. ผลของเกมคอมพิวเตอร์เรื่องโรคเหงือกอักเสบต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [รายงานวิจัย]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2563.

ขวัญตา บุญวาศ, เบญจวรรณ ช่วยแก้ว, โสภิต สุวรรณเวลา, จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2559; 8(2): 60-72.

รัตนา จันทร. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 33(4): 340-53.

พรพรรณ อัศวาณิชย์, อุมาพร คงสกุล, พจนา พงษ์พานิช, สุมิตร สูอำพัน, รุจิรา เผื่อนอัยกา. ประสิทธิภาพของสื่อทันตสุขศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ดูแลเด็ก. ว ทันต จุฬาฯ 2553; 33: 173-84.

อัญชิสา ขาวคง. การพัฒนาและทดสอบสื่อวีดิทัศน์เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนสำหรับครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. [รายงานวิจัย]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561.

ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2): 293-306.

ปกรณ์ กุลทัศนศิลป์. ผลของสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นต่อการปฏิบัติ ทัศนคติ และความรู้ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [รายงานวิจัย]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561.

Roger D. The Psychology of Adolescence. New York: Appleton Century-Crofts; 1978.

กันตพร ยอดใชย, อารีย์วรรณ อ่วมตานี, วิฑูรย์ สังฆรักษ์. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์คาราโอเกะ เรื่องหลักการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อความรู้ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2550; 25(6): 531-6.

World Health Organization. Thailand: WHO Coronavirus Disease [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.who.int/region/searo/country/th

วรารัตน์ ใจชื่น. การคาดการณ์กำลังคนในกลุ่มทันตบุคลากรของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2569. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(2): 221-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02