การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ การดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของมารดาหลังคลอดและพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 682 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม 625 คน และผู้ให้ข้อมูล ที่ได้รับการสัมภาษณ์ 57 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi 7 ขั้นตอน

            ผลการวิจัย พบว่า (1) การปฏิบัติกิจกรรมด้านการดูแลตนองของมารดาในระยะหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.77, SD = 0.21) (2) องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย การอยู่ไฟ การอาบน้ำสมุนไพร การเข้ากระโจมสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนาบหม้อเกลือ การนวดบำบัด การรับประทานอาหารสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพร และการดูแลสุขภาพทารกด้ายภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (3) รูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดแบบองค์รวม โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับการดูแลด้วยแผนปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization, Regional Office for South-East Asia. Standards of midwifery practice for safe motherhood. Bangkok: Thammasat University Printing: 2002.

ปิยะนุช ไสยกิจ. การพัฒนาต่อยอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่งานออกแบบสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ 2560;4(2):34–46.

กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, เพชรา ทองเผ้า, จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ, อรพนิต ภูวงษ์ไกร. การศึกษา

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลมารดาและทารกโดยใช้ห้องเรียนชุมชนและการเรียนรู้โดยใช้วิจัย

เป็นฐาน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;33(4):288–299.

จันทรมาศ เสาวรส. สืบสานภูมิปัญญาไทยของคนรุ่นใหม่: การบูรณาการภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า2562;36(3):251-257.

ประภัสสร คุ้มวิลัย, สุพัตรา ปรศุพัฒนา. การแพทย์แผนไทยร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2563;18(3):470-477.

พยอม สินธุศิริ, ดารุนนีย์ สวัสดิโชตติ์, ศิริภรณ์ เหมะธุลิน, ณัฏยา อ่อนผิว, ลักษคณา เจริญราษฎร์. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็กของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครพนม. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(1):46-55.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. ประวัติเมืองชัยภูมิ. ชัยภูมิ: สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ; 2563.

ละเอียด แจ่มจันทร์, สุรี ขันธรักษ์วงศ์, สุนทร หงส์ทอง, นพนัฐ จำปาเทศ. การแพทย์แผนไทยกับการบริบาลมารดาหลังคลอดในชุมชนภาคกลาง. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(2):195-202.

Kleinman A. Patients and healers in the context of culture. London: University of California Press; 1980.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. สถิติสตรีหลังคลอด ปี พ.ศ.2563. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2563.

Thorndike, Edward L. Sample Size. New York: Columbia University, 1978.

Colaizzi P. Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds), Oxford University Press, London; 1978.

วรรณา ดำเนินสวัสดิ์และถาวร ล่อกา. การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลสุขภาพประชาชนของสถานพยาบาลของรัฐในพื้นที่จังหวัดลําปาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2561; 11(1): 126-133.

พรทิพย์ พาโนและยงยุทธ วัชรดุลย์. ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอดของชาวไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 2562;39(5):86-95.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. โครงการรวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านภาคกลาง ณ วัดพนัญเชิง. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

วิชัยโชค วิวัฒน์. กรอบแนวคิดการพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก: กระบวนทัศน์การแพทย์พื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

ชัยวุฒิ อาจการ. ผลการรักษาด้วยการกินยาและการกินยาร่วมกับการนวดประคบสมุนไพรต่ออาการปวดในผู้ป่วยทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2561; 11(1):57-66.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ. องค์ความรู้เรื่องการอยู่ไฟของแม่หลังคลอด. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2556.

สายฝน สกุลผอม, ประศักดิ์ สันติภาพ, วัฒนา ชยธวัช, รัชนี จันทร์เกษและทัศนีย์ ศิลาวรรณ.

การดูแลหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์พื้นบ้านไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขศึกษา 2563;43(2): 107-118.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2553.

วรัทกาญจน์ กุลวิโรจน์โสภณและศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ. ผลของการนวดไทยร่วมกับกายบริหารแบบฤๅษีดัดตนต่อผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าในเครือข่ายโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(2): 370-370.

วรรณวดี ณภัค. การดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของมารดาที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาและโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก. รายงานการวิจัยสาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02