การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, โรงพยาบาลอาหารปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย จังหวัดสงขลา ตามขั้นตอนของ ADDIE โมเดล 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนา 3) การทดลองใช้ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมระดมสมอง และการประชุมกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 52 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 5 คน เจ้าหน้าที่งานจัดซื้อจัดจ้าง 10 คน เภสัชกรงานคุ้มครองผู้บริโภค 16 คน โภชนากรหรือเจ้าหน้าที่โรงครัว 15 คน เกษตรกร 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การคัดเลือกวัตถุดิบและอาหารแปรรูป มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ กลไกความร่วมมือวิสาหกิจชุมชน สร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชน รับรองมาตรฐานผลผลิต สถานที่ผลิต พัฒนาเครือข่ายเกษตรกร และจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย 2) การตรวจสอบสารปนเปื้อน สารตกค้างในวัตถุดิบ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ จัดระบบการแบ่งพื้นที่ และพัฒนาทักษะการตรวจสารปนเปื้อนของเจ้าหน้าที่ 3) การจัดทำเมนูล่วงหน้า มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ ปรับเมนูอาหารตามฤดูกาล จัดตั้งกลุ่มไลน์ นำวัตถุดิบคงเหลือทำอาหารสำหรับการประชุม และแปลงเมนูล่วงหน้าเป็นรายการวัตถุดิบ 4) การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ จัดซื้อจัดจ้างผ่านวิสาหกิจชุมชน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นคนกลาง และมีระบบกองทุนสำรองของวิสาหกิจชุมชน และ 5) การจัดตลาดสีเขียวของโรงพยาบาล มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ จัดตลาดสีเขียว 1 วัน/สัปดาห์ เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้เกษตรกร ตั้งชื่อตลาดเป็นเอกลักษณ์ และส่งเสริมกิจกรรมสอดแทรกความรู้
References
กองบริหารการสาธารณสุข. มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย. 3rd ed. นนทบุรี: บอร์นทูบีพับลิชชิ่ง; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. รายงานประจำปีงบประมาณ 2562. สงขลา; 2562.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน Green & Clean Hospital. 3rd ed. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.
กฤษฎา หาญบรรเจิด, เกียรติศักดิ์ แหลมจริง. ผลการประเมินโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย. วารสารบำราศนราดูร. 2563;1(14):45–55.
จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี, จุฑามาศ กลิ่นโซดา, ะวราลักษณ์ ตังคณะกุล. การวิเคราะห์นโยบายอาหารปลอดภัยระดับชาติของกลุ่มประเทศในเอเชีย. วารสารอาหารและยา. 2556;
Kruse K. Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model [Internet]. 2002 [cited 2022 Jan 2]. Available from: https://www.semanticscholar.org/paper/Introduction-to-Instructional-Design-and-the-ADDIE-Kruse/9dde73651c087216677a930f1f5c2df02de6a5f9
ธัญญ์พิชชา ศักดิ์ภิรมย์, พรพิรุณ ดีสวัสดิ์. การประเมินผลการดำเนินงานอาหารปลอดภัย จังหวัดปทุมธานี. Thai Food Drug J. 2562;
วิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก. อาหารปลอดภัย กับการจัดการสิ่งแวดล้อม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 2562;15(12):106–25.
ธนชีพ พีระธรณิศร์, วิทูร อินทจันท์. การศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับนโยบายอาหารปลอดภัยของพื้นที่เทศบาลของประเทศไทย. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. 2559;7(2):4–15.
Olaimat AN, Shahbaz HM, Fatima N, Munir S, Holley RA. Food Safety During and After the Era of COVID-19 Pandemic. Front Microbiol [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 12];0. Available from: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fmicb.2020.01854/full?fbclid=IwAR3zWzhnefu8yhCWOqreD1qcKwgj7HS9fIg8rhRqqnbAdkSTmE4YdfUONRQ
บัณฑิต ต้วมศรี, สุรศักดิ์ เสาแก้ว. ผลของการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสดในโรงพยาบาล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562;11(3):575–85.
อุไรวรรณ บุตรวัง, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการซื้ออาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ในผู้ปรุงอาหารประจำครัวเรือน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [Internet]. 2559 [cited 2021 Dec 31];26–33. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/120960
สมโภค จุลประภา, ณัฐธัญ สวิงทอง, พลวัฒน์ ศุภภัทรเศรษฐ์. ปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ; 2563.
วรพิทย์ มีมาก. ตลาดนัดสีเขียวกับการเสริมสร้างพลังอํานาจของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดสุรินทร์. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มศว. 2553;1(2):101–14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น