ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของพนักงานเย็บกระเป๋าหนังจระเข้แห่งหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ขวัญแข หนุนภักดี หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, ความชุก, การยศาสตร์, พนักงานเย็บกระเป๋าหนังจระเข้

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของพนักงานเย็บกระเป๋าหนังจระเข้ในตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบประเมิน Rapid Upper Limb Assessment (RULA) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าไคสแควร์ (Chi-Square)

ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในช่วงระยะเวลา 7 วัน ก่อนการศึกษาของพนักงานเย็บกระเป๋าหนังจระเข้ มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจำนวน 59 คน (ร้อยละ 69.40) ส่วนใหญ่มีอาการผิดปกติบริเวณไหล่ (ร้อยละ 50.60) คอ (ร้อยละ 31.80) และหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 17.60) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง พบว่า ระยะเวลาในการนั่งทำงานต่อเนื่องมีผลต่ออาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value =0.031)

ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ควรปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน เพิ่มเวลาพักและส่งเสริมกิจกรรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการผิดปกติของระบบระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของพนักงานเย็บกระเป๋าหนังจระเข้

References

อรุณ คงเจริญ, โกวิทย์ พวงงาม, เพ็ญศรี ฉิรินัง, วรสิทธิ เจริญพุฒ. กระบวนการนโยบายในการจัดการปัญหาแรงงานขาดแคลนกรณีศึกษาอุตสาหกรรม รองเท้า. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2563; 7(2): 575-98.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 3/2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/ oie/327874 6.

นเรศ มณีเทศ. การจัดการความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ของพนักงานโรงงานในพื้นที่อำเภอ นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 434-40.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง, วรวรรณ ภูชาดา. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(1): 99-111.

พิชชาพร บุญสูง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, ประสงค์ กิติดํารงสุข เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์.

การประเมินงานการยศาสตร์ในคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 2564; 44(2): 271-80.

อิสรีย์รัช สืบศร, มัณฑนา ดำรงศักดิ์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อ ที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป.พยาบาลสาร 2556; 40: 108-19.

อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล, กลางเดือน โพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2): 53-64.

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดี. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/ 2014/04/resch.pdf

Middlesworth M. A step-by-step guide rapid upper limb assessment (RULA) [Internet]. 2013 [cited 2020 September 10]. Available from https://ergo-plus.com/wp-content/uploads/RULA-A-Step-by-Step-Guide1.pdf

จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์, วีระพร ศุทธากรณ์. ความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและปัจจัยด้านท่าทางในการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2557; 44(3): 273-87.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในแรงงานนอกระบบ กลุ่มรายงานทำไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1): 35-40.

Dianat I, Salimi A. Working conditions of Iranian hand-sewn shoe workers and associations with musculoskeletal symptoms. Ergonomics 2014; 57(4:602-611.

เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, วัณทนา ศิริธราธิวัตร. ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2553; 22(3): 292-301.

ณวพร กรบริสุทธิ์. คุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐ พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2561; 11(3): 218-25.

พัชรินทร์ ใจจุ้ม, ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. ประสิทธิผลของการจัดโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการให้ความรู้ ด้านการยศาสตร์เพื่อลดอาการปวดเมื่อยหลังและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังของ คนงานทอผ้าด้วยมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2561; 20(3): 29-39.

วิพา ชุปวา, พีรญา อึ้งอุดรภักดี. ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานทำความสะอาด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร2560; 25(1): 23-31.

ชาตรี เชิดนาม, วิภาดา พนากอบกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(2): 280-89.

นเรศ มณีเทศ. การจัดการความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ของพนักงานโรงงานในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 434-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02