บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
พยาบาลวิชาชีพ, สมรรถนะเชิงวิชาชีพ, บรรยากาศองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปในปีงบประมาณ 2562 ที่ปฏิบัติงานใน12 แผนกการพยาบาลผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน43คนคัดลือกโดยมีการ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และสัมภาษณ์เชิงลึกจํานวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่ง แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า0.5กทุกข้อ และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช 097เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 19พฤษภาคม ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน โดยกําหนด ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า บรรยากาศองค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.26 (S.D=041)และสมรรถนะเชิงวิชาชีพ ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D. = 0.38) และบรรยากาศองค์การมี ความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (r=0.517, p-value < 0.001) ทั้งนี้ตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาล วิชาชีพระดับปฏิบัติการ ได้แก่บรรยากาศองค์การ ในด้านมิติความอันหนึ่งอันเดียวกันมิติความรับผิดชอบมิติความอบอุ่นและ มิติสนับสนุนร้อยละ 39.3 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มาจากมิติความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน จึงควรเพิ่มมาตรการในการป้องกันการเฝ้า ระวังกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับพยาบาลวิชาชีพ
References
วิจิตร ศรีสุพรรณ. การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: จุดทองกรุ๊ป; 2553.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2550.
สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์; 2556.
Benner, P. From Novice to expert: Excellence and power in clinical nursing pactice. California: Addison-Wesley. 1984.
ขนิษฐา นันทบุตร. การออกแบบบริการสุขภาพในชุมชน. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน; 2555.
จารีศรี กุลศิริปัญโญ. (2558). การพัฒนาเกณฑ์ประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(2), 123-130.
กองการพยาบาล สำนักการพยาบาล. หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี: กลุ่มภารกิจพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ทางการพยาบาล สำนักการแพทย์; 2548.
อรุณี เฮงยศมาก. ประเด็นและแนวโน้มวิชาชีพพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์;
ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ. สมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2554. 108-120.
กองการพยาบาลสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายงานพยาบาล. กรุงเทพฯ: กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
เพ็ญแข จันทร์ราช และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; (2561). 36(3), 23-33.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
วิลาสินี ชวลิดำรง. สมรรถนะของพยาบาลระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552
Litwin, G.H., & Stringer, R.A. Motivation and organization climate. Boston: Division of research Harvard University Graduate School of Business Administration.; 1968.
สมยศ นาวีการ. การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ;2543
พีระ สมบัติดี และคณะ. คุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 2561. 1(1), 47-56.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2ed. New York: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Ivancevich, J et al. Worksite stress management interventions. American Psychologist. 1990. 45, 252–261.
Likert R. The Human Organization. New York: McGraw-Hill; 1976.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
สำเริง จันทรสุวรรณ และคณะ. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น