ผลการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเกษตรกรเพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและปัจจัยเสี่ยงโรคเนื้อเน่า ในจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, เครือข่ายเกษตรกร, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและปัจจัยเสี่ยงโรคเนื้อเน่าในเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกร จำนวน 303 คน และเครือข่าย จำนวน 362 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้: แบบสอบถามเกษตรกรและเครือข่าย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย, T-Test, วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกร หลังดำเนินการมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ระดับปกติ จากร้อยละ 20.2 เป็น 56.2 ระดับปลอดภัย เพิ่มจากร้อยละ 27.1 เป็น 28.5 ปัจจัยเสี่ยงกลุ่มเกษตรกรสัมผัสสารเคมีลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD. 0.10, p-value<0.001) การใช้อุปกรณ์ป้องกันการสัมผัสสารเคมีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ผลกระทบปัจจัยเสี่ยงโรคเนื้อเน่าของกลุ่มเกษตรกรลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD. 0.05, p<0.001) ปัจจัยโดยรวมทำนายระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 3.1 (adj.R2= 0.031) มี 4 ปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรมในการทำงาน อายุ และระยะเวลาที่เป็นเกษตรกร หลังดำเนินการเครือข่ายมีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD. 2.74, p-value<0.001) มากที่สุดคือ มีส่วนร่วมประเมินผล ค้นหาปัญหา และแนวทางแก้ไข สรุป หลังพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทำให้กลุ่มเกษตรกรมีพฤติกรรมป้องกันการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนา
References
เทคโนโลยีชาวบ้าน. ทำไมทั่วโลกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2563] จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. คู่มือการจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข: คลินิกสุขภาพเกษตรกร; 2557. [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2563] จาก http://envocc.ddc.moph.go.th
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2559-2560. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2563] จาก https://bps.moph.go.th
Broucke SVD. Implementing health in all policies post Helsinki 2013: why, what, who and how. Health Promot Int. 2013; 28: 281–4.
หิรัญวุฒิ แพร่คุณธรรม, ภาณุพงศ์ ตันติรัตน์, ธนิต รัตนธรรมสกุล. การศึกษาสถานการณ์
โรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562; 50: 241-7.
อมร ทองรักษ์. การสอบสวนทางระบาดวิทยาและวิเคราะห์สถานการณ์โรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciltis) จังหวัดหนองบัวลำภู ปี 2561. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู; 2561.
ภัทรภร ฤทธิชัย. ผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2562.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. การคำนวณขนาดตัวอย่างและการวิเคราะห์ในการวิจัยกึ่งทดลอง ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2548; 14(5): 739-740.
Neupane D, Jors E, Brandt LPA. Plasma Cholinesterase Levels of Nepalese Farmers Following Exposure to Organophosphate Pesticides. Environmental Health Insights 2017; 11: 1–4.
ปรียะพร ระมัยวงค์, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรในเขตพื้นที่ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; 13(4): 1-13.
พุทธมาศ ส่งคืน, จตุพร เหลืองอุบล, สุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง ตำบลเพี้ยราม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2561; 12(2): 82-93.
ทินกร ชื่นชม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร. วารสารแพทย์เขต 4-5; 2561; 37(2): 86-97.
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม. รายงานการศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2560.
Shentema MG, Kumie A, Bratveit M, Deressa W, Ngowi AV, Moen BE. Pesticide Use and Serum Acetylcholinesterase Levels among Flower Farm Workers in Ethiopia -A Cross-Sectional Study. Int. J. Environ. Res. Public Health 2020; 17: 964-74.
ปัทมา เมี่ยงมุกข์, สุวรรณา ประณีตวตกุล, จักรกฤษณ์ พจนศิลป์. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี. วารสารแก่นเกษตร 2559; 44 (3) : 417-426.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. หลักการมีส่วนร่วมของเครือข่ายท้องถิ่น. นนทบุรี; 2557. [เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2563]. จาก: http://www.nhso. go.th
นิรมล ธรรมวิริยสติ, วิจิตตรา มาลัยเขต, กลย์รวี กนกเลิศวงศ์, รินรดา วิสุทธิ, สานิตา สิงห์สนั่น. ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมต่อผลกระทบสุขภาพของผู้บริโภคผักผลไม้สด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 13(2): 52-62.
รวิภา บุญชูช่วย. ผลการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชุมชนบ้านไผ่ลูกนก ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6(1): 44-55.
ศรัญญา พันธุ์คุณ, เสาวนีย์ หน่อแก้ว, สร้อยสุดา เกสรทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ กรณีศึกษา: จังหวัดสุโขทัย. วารสารกรมควบคุมโรค 2560; 43(3): 270-279.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น