ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ประไพจิตร ชุมแวงวาปี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, การเลิกสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำแนกผู้สูบบุหรี่ตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ และศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในแต่ละขั้นตอนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ของผู้สูบบุหรี่ในตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 246 คน โดยใช้แบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อค้นพบ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ด้วยสถิติ Discriminant analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่อยู่ในระยะก่อนชั่งใจ ร้อยละ 32.5 มีค่าคะแนนเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่ำสุดอยู่ในระยะก่อนชั่งใจ คือการเผชิญเงื่อนไขทางพฤติกรรม ( = 11.13, SD=3.44) มีค่าคะแนนเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสูงสุดอยู่ในระยะปฏิบัติ คือการประเมินสิ่งแวดล้อม ( = 17.83, SD=1.48) ผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพบว่า กลุ่มระยะก่อนชั่งในและกลุ่มระยะชั่งใจ มีค่าเฉลี่ยกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) เกือบทุกด้าน และพบว่า  กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในแต่ละระยะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะชั่งใจ ( = 14.05, SD=2.81) ระยะพร้อมปฏิบัติ ( = 14.31, SD=2.75) ระยะปฏิบัติ ( = 15.44, SD=1.87) ส่วนระยะคงไว้ซึ่งการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยลดลง ( = 15.38, SD=2.15)

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานบริการสาธารณสุขจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ให้เหมาะสมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของแต่ละกลุ่ม เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน

References

กรองจิต วาทีสาธกกิจ. การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กรุงเทพฯ, 2551.

อารัมภ์พร เอี่ยมวุฒิ และคณะ. บุหรี่ภัยร้ายทำลายคุณ. พิมพ์ครั้งที่ 8. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง นครปฐม, 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2560. พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด กรุงเทพฯ, 2561.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ และคณะ. รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ 5 มิติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เจริญดีมั่นคงการพิมพ์ กรุงเทพฯ, 2558.

กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. สธ.เผยสถิติผู้เสียชีวิตจากบุหรี่. https://www.thaihealth.or.th/Content/45070 สืบค้นเมื่อ1 ตุลาคม 2563

ญาณินท์ ศรีทรงเมือง. ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของพลทหาร ค่ายภาณุรังษี จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.

อารยา ทองผิว และคณะ, คู่มือเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดโรคเสพยาสูบในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ. กรุงเทพฯ, 2561.

Prochaska, Jame O.; et al. Measuring process of change : to the cessation of smoking. Journal of Consulting and Clinical Psychology. 56(3). 1988.

อรุณ จิรวัฒน์กุล, สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. ทิพยพัฒน์. กรุงเทพฯ, 2558.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ และคณะ. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. เจริญดีมั่นคงการพิมพ์. กรุงเทพฯ, 2561.

วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ, 2546.

Prochaska, Jame O.; et al. The Process of Smoking Cessation An Analysis of Precontemplation, contemplation, and Preparation Stage of Chang. Journal of Consulting and Clinical Psychology. 59(2). 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03 — Updated on 2022-05-03

Versions