ประสิทธิผลการใช้กรอบอัตรากำลังในการบริหารกำลังคน ในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2560 - 2564

ผู้แต่ง

  • มัธยัสถ์ เหล่าสุรสุนทร กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • กัญญา มีสมบัติ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ศิราพรรณ บัวแย้ม กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • จิราพร นาดี กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

กรอบอัตรากำลัง, บุคลากรสาธารณสุข 25 สายวิชาชีพ, เขตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบผสมผสาน ทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กรอบอัตรากำลังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2560 – 2564ของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกรอบอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2560 – 2564 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลบุคลากรในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคลากรสาธารณสุข 25 สายวิชาชีพ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้แทนผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติของเขตสุขภาพ และเจ้าหน้าที่กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวม 15 คน

ผลการศึกษา พบว่า 1) เขตสุขภาพทั้ง 12 เขต ได้มีการบริหารจัดการกำลังคนในหน่วยบริการโดยใช้กรอบอัตรากำลังมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการกำลังคน ซึ่งเมื่อสิ้นสุดกรอบอัตรากำลังปี พ.ศ. 2564 ภาพรวมของเขตสุขภาพมีร้อยละบุคลากรสาธารณสุข 25 สายวิชาชีพ เพิ่มขึ้นจากเดิม เท่ากับ ร้อยละ 5.80 โดยเขตสุขภาพที่ 6 มีจำนวนบุคลากรเพิ่มขึ้นจากเดิมมากที่สุด คือ ร้อยละ 9.69 และในขณะเดียวกันจังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 6 มีสัดส่วนบุคลากรเพิ่มขึ้นจากเดิมมากที่สุด เท่ากับร้อยละ 14.98 และเมื่อพิจารณาการบริหารจัดการกำลังคนของเขตสุขภาพในหน่วยบริการในแต่ละระดับ พบว่า            โรงพยาบาลชุมชน ระดับ F3 มีจำนวนบุคลากรสาธารณสุข 25 สายวิชาชีพ เพิ่มขึ้นจากเดิมมากที่สุด คือ ร้อยละ 16.37 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการการใช้กรอบอัตรากำลังที่มีความสำคัญมากที่สุด 3 ปัจจัยแรก คือ (1) ผู้บริหารเขตสุขภาพ ได้แก่ ผู้ตรวจราชการ สาธารณสุขนิเทศก์ เป็นต้น (2) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ประสานงาน ทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับจังหวัด และระดับเขตสุขภาพ และ (3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ ควรมีการใช้กรอบอัตรากำลังในการวางแผนและบริหารจัดการบุคลากรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการกระจายบุคลากร แต่อย่างไรก็ตาม กรอบอัตรากำลังในอนาคตควรมีความยืดหยุ่น สามารถปรับได้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของงานและพื้นที่ในอนาคต

References

Global strategy on human resources for health: HWF 2030. World Health Organization; 2016.

Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. World Health Organization; 2010.

แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550-2559. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี; 2550.

Pakaiya N, Noree T. Thailand’s Health Workforce: A review of challenges and experiences. Washington, DC; 2009.

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี; 2560.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560).คู่มือโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง หน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (ปี พ.ศ. 2560 -2564). กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของ

กระทรวงสาธารณสุข.กลุ่มประสานนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ. กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560).หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0201.032/ว1707 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2560 เรื่องโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังราชการในส่วนภูมิภาค .สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563).หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0208.02/ว 1194 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2563 เรื่อง การบริหารกรอบอัตรากำลังหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคณะ. (2560). การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือวิเคราะห์อัตรากําลังของส่วนราชการ.สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

จุรีรัตน์ กิจสมพร และคณะ. (2563). ปัจจัยสนับสนุนและแนวทางการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพของเขตสุขภาพในประเทศไทย: มุมมองผู้กำหนดนโยบาย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03