ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย

ผู้แต่ง

  • ประกริต รัชวัตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • นัยนา ภูลม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การจัดการครอบครัว, ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การจัดการครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียและอำนาจการทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ การจัดการครอบครัวของผู้ดูแลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียในช่วงอายุ 6-15 ปี จำนวน 113 คน และผู้ดูแลจำนวน 113 คน ที่พาเด็กมารับบริการในการให้เลือดโรงพยาบาลศูนย์สระบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การจัดการครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการพยากรณ์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษา พบว่าระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (M=76.14 SD=28.4  ) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (M= 123.78,SD=16.48) คิดเป็น
ร้อยละ 78.34 และการจัดการครอบครัว ของผู้ดูแลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (M= 189.40, SD= 21.69 ) คิดเป็นร้อยละ 84.18 ของคะแนนเต็ม ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ การจัดการครอบครัว ของผู้ดูแล สามารถร่วมทำนายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 39.1 (R2 = .391, p < 0.001)

          ผลการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรสุขภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียและครอบครัวควรให้การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การจัดการครอบครัวเพื่อช่วยในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กธาลัสซีเมียต่อไป

References

สถาบันสุขภาพมหาราชินี.แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโลหิตจางธาลัสซีเมีย.กรุงเทพฯ: พีเอลีฟวิ่ง; 2557.

วิปร วิประกษิต. “ธาลัสซีเมีย”: การดูแล รักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบูรณา การ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร บริการโลหิต 2556; 4:303-320.

สุขุมาล สิริพันธนะ.ภาวะแทรกซ้อนทางต่อมไร้ท่อในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(2):431-440.

สุรเดช หงส์อิง.ธาลัสซีเมียกับการรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก เข้าถึงได้จากhttps://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article

Behdani, F., Badiee, Z., Hebrani, P., Moharreri, F., Badiee, A. H., Hajivosugh, N.,et al. (2015). Psychological aspects in children and adolescents with major thalassemia: a case control study. Iran J Pediatric, 25(3), 1-8.

พชรพรรณ สาริสูต.คุณภาพชีวิตและความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียในศูนย์การแพทย์ปัญญาภิกขุ ชลประทาน.วารสารจักษุสาธารณสุข 2562;49(2):200-209.

บุษยารัตน์ ศิลปะวิทยาทร ณัฐนรี อนุกูลวรรธกะ เกศินีอิ่มแมน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ของเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา2562;20(3):45-57.

พจนพร งามประภาสม.การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ต้องรับเลือดเป็นประจำ ที่โรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2020; 28 (1) :12-26.

World Health Organization. Improving health literacy เข้าถึงได้จากhttps://www.who.int/activities/improving-health-literacy.

ปาจรา โพธิหัง.The Journal of Faculty of Nursing Burapha University.2564;29(3): 115-130

National Reform Steering Assembly. (2016). Report of the national reform steering commission public health and environment national reform steering assembly on “health literacy reform and health communication reform”. Retrieved July 3, 2020, from http://library2.parliament.go.th/ giventake/content_nrsa2558/d111459-03. pdf. [In Thai]

พัชรี วัฒนชัย และ ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์. การจัดการของครอบครัว: แนวคิดและแนวทางการนำไปใช้ในการช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562 , 29(2), 12-23.

Knafl, K. & Deatrick, J. (2009). Family Management Style and the challenge of moving from conceptualization to measurement. Journal of Pediatric Oncology Nursing, 23(1), 12-18.

อรนุช ชูศรี วรรณี เดียวอิศเรศ และ Marcia Van RiperL. รูปแบบการจัดการในครอบครัวที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย.The Styles of Management in Families Having a Child with Thalassemia2516; SDU Res. J. 9 (3): 114-127.

Chusri, O., Deoisres, W., & Riper, M. van. (2017). Influencing of Family Management in Families with Thalassemic Children on Health-Related Quality of Life and Family Functioning: SEM approach. Walailak Journal of Science and Technology (WJST), 16(1), 27–38.

เก็จกนก เอื้อวงศและคณะ. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาที่ใช้ในสถานการณ์โควิด–19.เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1834-file.pdf

กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์ จิราพร ชมพิกุลและ เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล.ปัจจัยที่มีผลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวไทย.เข้าถึงได้ใน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/download/92060/72148/

Wongsin R. The quality of life in patients with thalassemia at Queen Sirikit National Institute of Child Health (Thai). [Thesis for the Diploma of Thai Board of Pediatrics]. Bangkok: The Medical Council of Thailand, 2011.

ปิยนุช ศรีสวัสดิ์เล็ก และนนทสรวง กลีบผึ้ง.การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อ ระดับความรู้ความเข้าใจสื่อ และระดับการรู้เท่าทันสื่อ ของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2563;16(3):159-175.

พชรพรรณ สาริสูต.คุณภาพชีวิตและความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียในศูนย์การแพทย์ปัญญาภิกขุ ชลประทาน.วารสารจักษุสาธารณสุข 2562;49(2):200-209.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03