การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด ในหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ อุดรพิมพ์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ทารกเกิดก่อนกำหนด, ส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด, รูปแบบการพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ : ทารกแรกเกิดก่อนกำหนดในหอทารกป่วยวิกฤตมีอัตราการตายสูง เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดมีการเจริญเติบโตของร่างกายช้า น้ำหนักตัวน้อย ระบบภูมิคุ้มกันยังเจริญไม่เต็ม จึงมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย จำเป็นต้องมีรูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต
ของทารกเกิดก่อนกำหนดในหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยทารกแรกเกิดหอทารกป่วยวิกฤตจำนวน 30 ราย แบ่งกลุ่มละ 15 ราย และพยาบาลวิชาชีพประจำการในหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 16 คน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม 2564 ใช้สถิติ Independent T-test

ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติมีน้ำหนักตัวของทารกเพิ่มขึ้น 10 - 30 กรัมต่อวัน ค่าเฉลี่ย 2.00 และ p - value 0.009 ส่วนการเกิดปอดอักเสบมีความสัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจของทารกเกิดก่อนกำหนด (VAP) และการเสียชีวิตพบในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติค่อนข้างสูง ค่าเฉลี่ย 1.50 ค่า SD 0.51, ค่าเฉลี่ย 1.73 ค่า SD .46 และ p - value 0.009, 0.041 ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มแล้วพบว่ากลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผลการศึกษา : การใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนดในหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 20-30 กรัมต่อวัน การเกิดภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจของทารกเกิดก่อนกำหนด (VAP) ลดลง และอัตราการเสียชีวิตลดลง

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการตายของทารกแรกเกิด. 2562; สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564. http://kmops.moph.g.th/index.php/km-test.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด. 2562; สืบค้นเมื่อวันที่ 2มิถุนายน 2564. https://hp.anamai.moph.go.th/th.

Blencowe et al. Preterm birth associated with maternal fine particulate matter exposure: A global,regional and national assessment. 2017; https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28196630.

มาลี เอื้ออำนวย เนตรทอง นามพรหม และ ปริศนา สุนทรไชย. การพยาบาลเด็ก. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560; พิมพ์ครั้งที่ 3.

สถิติหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. สถิติหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. บันทึกเวชระเบียนจำนวนทารกแรกเกิดในหอป่วยวิกฤต. 2564; ข้อมูลปี 2561 ถึง ปี 2564.

National Association of Neonatal Nurse.[NANN]. Age-appropriate care of the premature and critically III hospitalized infant: Guild for practice. 2011; Retrived from http:www.nann.org/uploads/Age-Appropriate_Care-FINAL_11-01-11.

Ramachandran & Dutta. Developmental Screening Tools for Motor Developmental Delay in High Risk Preterm Infants. Journal of Nepal Paediatric Society. 2016; 35, 2 (Jan. 2016), 162 – 167; https://doi.org/10.3126/jnps.v35i2.12954.

World Health Organization. Newborn: Reducing mortality. 2018; Available from: http://www. who.int/mediacenter/factsheets/fs333/en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03