ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางใจ และแรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในยุคความปกติใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งทางใจ, แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางใจ แรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในยุคความปกติใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 385 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วน คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองในยุคความปกติใหม่ ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของความเข้มแข็งทางใจ, แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเอง เท่ากับ 0.76, 0.89 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ความเข้มแข็งทางใจ แรงสนับสนุนทางสังคม และระยะ เวลาของการเป็นมะเร็ง ระหว่าง 6 เดือน–1 ปี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในยุคความปกติใหม่ และร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้ร้อยละ 33.60 (R2 = 0.336, adj. R2 = 0.32,p< 0.01)โดยปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ดีที่สุด คือ แรงสนับสนุนทางสังคม รองลงมาคือ ความเข้มแข็งทางใจ และระยะเวลาของการเป็นมะเร็ง ระหว่าง 6 เดือน–1 ปี (β=0.45, 0.22 และ 0.10 ตามลำดับ) ดังนั้น ควรมีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในยุคความปกติใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง โดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา
References
กรมการแพทย์ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กระทรวงสาธารณสุข. Hospital Base Cancer Registry ปี 2563. โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
กาญจนา สุโขกาญจนชูศักดิ์. แบบสำรวจผลกระทบ Covid-19 ต่อการรักษา การดูแลตนเอง และความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ปี 2564. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2564; 35(1): 1-13.
วรพนิต ศุกระแพทย์ และพรทิพา ทักษิณ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งในการมองโลกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. ใน วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564; 31(1): 189-198.
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562. Social support - การสนับสนุนทางสังคม. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นวันที่ 24 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://smarterlifebypsychology.com/2019/09/30/social-support
วรพรรณ เครือคล้าย, มลินี สมภพเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2564; 22(1): 125-137.
สิรัชญา มารักษา, ณิชชาภัทร ขันสาคร, อัจฉรา วรารักษ์ และนรีมาลย์ นีละไพจิตร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยเคมีบำบัด. ใน วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 2(2): 435-442.
ชัญญานุช พะลัง, ปิ่นหทัย หนูนวล. การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ : วิจัยกรณีศึกษา. วารสารโรคมะเร็ง 2563; 40(2): 62-75.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ : Resilience Quotient. นนทบุรี : บริษัท บียอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด; 2563.
Masters Kathleen. Nursing theories : A Framework for Professional Practice. USA. Jones & Bartlett Learning; 2012.
ปุณรดา พวงสมัย, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ และ จรรยา ฉิมหลวง. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระดับการศึกษา ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความเข้มแข็งในการมองโลก แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558;7(2): 187-200.
Best J W. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.
ยงยุทธ วัฒนาไชย, รสวลีย์ อักษรวงค์ และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเข้มแข็งในการมองโลกในผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(2): 347-354.
Godoys Lins F, Barcelos do Nascimento H, Correa Soria D de A, & de Souza S R. Self Image and Resilience of Oncological Patients. Revista de Pesquisa: Cuidado e Fundamental 2020; 12(1); 492–498. https://doi.org/10.9789/2175-5361.rpcfo.v12.8565.
อรทัย วิเชียรปูน, วุฒิชัย จริยา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 250-258.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น