ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อิสรา จุมมาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ณัฐสิทธิ์ สินโท คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหาสารคาม
  • วิโรจน์ คำแก้ว คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหาสารคาม
  • ธารินี ศรีศักดิ์นอก คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 102 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.75 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 59.80 มีระดับพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.60 และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพ (r = 0.279, p = 0.004)

ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

References

World Health Organization. Hypertension. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565] จาก https://www.who.int/health-topics/hypertension#tab=tab_1

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนอัตราป่วย ตาย ปี 2559-2562. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565] จาก http//www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13893&tid=32&gid=1-020.

ลิวรรณ อุนนาภิทักษ์, จันทนา รณฤทธิวิชัย, วิไลวรรณ ทองเจริญ, วีนัส ลีฬหกุล และ พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. พยาธิสรีรทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์; 2546.

James PA, Oparil S, Carter BL, Cushman WC, Dennison-Himmelfarb C, Handler K, Lackland DT, LeFevre M, MacKenzie TD, Ogedegbe O, Smith SC, Svetkey LP, Taler SJ, Townsend RR, Wright J, Narva AS, Ortiz E. (2014). Evidence-Based Guideline for the Management of High Blood Pressure in Adults: Report From the Panel Members Appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8). JAMA. 2014; 311(5):507–520. doi:10.1001/jama.2013.284427.

ศุภนิมิต หนองม่วง, จตุพร เหลืองอุบล, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. การพัฒนาระบบบริการเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสื่องข้าว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2556; 6(2): 80-86.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาสามัครประจำครอบครัว (อสค.) กลุ่มดูแล ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์. ผลการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอในการแก้ไขปัญหาความดันโลหิตสูง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 56-62.

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Geneva: WHO publication; 1998.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008; 67(12): 2072-2078.

Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. Low health literacy and health outcomes: An updated systematic review. Annals of Internal Medicine 2011; 155(2): 97-107. doi: 10.7326/0003-4819-155-2-201107190-00005.

Darvishpour, J., Omidi, S., & Farmanbar, R. The Relationship between Health Literacy and Hypertension Treatment Control and Follow-up. Caspian Journal of Health Research 2016;2(1): 1-8. doi: 10.18869/acadpub.cjhr.2.1.1.

Shi, D., Li, J., Wang, Y., Wang, S., Liu, K., Shi, R.,et. Al. Association between health literacy and hypertension management in a Chinese community: a retrospective cohort study. Internal and Emergency Medicine 2017;12(6): 765-776. doi: 10.1007/s11739-017-1651-7.

พิม สุวรรณิน. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหน่วยตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือพิเศษ โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564;1(2):10-19.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ และ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 2559; 3(6):67-85.

นงลักษณ์ แก้วทอง, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช และ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมรานี กรุงเทพ 2557; 30(1): 45-56.

รุ่งนภา อาระหัง, สุธีรา ฮุ่นตระกูล และศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์นาวี 2561; 45(3): 509-526.

ศิรินภา วรรณประเสริฐ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2562; 20(2): 92-104.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement 1970; 30(3): 607-610.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2559.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Wiersma, W., & Jurs, S. G. Research Methods in Education. Massachusetts: Pearson; 2009.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education; 2010.

มาลี โชคเกิด และ ผาสุข แก้วเจริญตา. ความฉลาดทางสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10(1): 167-173.

Kobayashi, L. C., Smith, S.G., O'Conor, R., Curtis, L. M., Park, D., von Wagner, C., Deary, I. J., Wolf, M. S. The role of cognitive function in the relationship between age and health literacy: a cross-sectional analysis of older adults in Chicago, USA BMJ open 2015; 5(4): 1-8.

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, โสภิต สุวรรณเวลา และ ญนัท วอลเตอร์. ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุภาวะความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วม จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563; 7(2): 26-38.

Nilnate W, Hengpraprom S, Hanvoravongchai P. Level of health literacy in Thai elders, Bangkok, Thailand. J Health Res 2016; 30(5): 315-321.

Gazmararian J. A., Baker D. W., Williams M. V., Parker R. M., Scott T. L., Green D. C., Fehrenbach S. N., Ren J., Koplan J. P. Health literacy among Medicare enrollees in a managed care organization. JAMA 1999; 281(6): 545–551. doi:10.1001/jama.281.6.545.

Martin, L.T., Ruder, T., Escarce, J. J., Ghosh-Dastidar, B., Sherman, D., Elliott, M., ... & Lurie, N. Developing predictive models of health literacy. Journal of general internal medicine 2009; 24(11): 1211-1216.

Pender N. J., Murdaugh C. L., Parsons M. A. Health promotion in nursing practice. 6th ed. Boston, MA: Pearson; 2011.

อัณญ์ยภัคสร ใจสมคม, พัชราวดี ทองเนื่อง, นันทิยา โข้ยนึ่ง, ธิดารัตน์หวังสวัสดิ์, นูรดีนี ดือเระ และ พัชรี รัตนพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้ใหญ่ไทยที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2563; 12(3): 1-18.

แจ่มจันทร์ วรรณปะเก และ ธนิดา ผาติเสนะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2561; ฉบับพิเศษ:

–185.

วานิช สุขสถาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4(3): 431-441.

ประการ เข้มแข็ง, นันทยา อ่อนคง, มณีรัตน์ วงศ์พุ่ม. การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในเขตเมืองและเขตชนบท จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2559;

(1): 27-44.

ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง. การรับรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559; 34(1): 83-92.

วันวิสา ยะเกี๋ยงงำ, ณิชารีย์ ใจคำวัง และ พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2563; 15(2): 97-116.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และ นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559; 25(3): 43-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05