ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อระบบการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช อินทศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วสุธร ตันวัฒนกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความคาหวัง, ความพึงพอใจ, ระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและความพึงพอใจ เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test, One-way ANOVA, chi-square และ Pearson's Correlation Coefficient

ผลการวิจัย พบว่า เพศ สถานภาพสมรส ประสบการณ์ที่มารับบริการ ระยะเวลาเดินทางมารับบริการที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพศและระยะเวลาเดินทางมารับบริการมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บุคลากร เทคโนโลยี การสื่อสาร สิ่งอำนวยความสะดวกและภาพรวม
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความคาดหวังและความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวัดสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การคัดกรองและซักประวัติการเจ็บป่วย การจัดลำดับเพื่อพบแพทย์ การรับไว้รักษาต่อในโรงพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยและภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความคาดหวังและความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การทำเวชระเบียนและตรวจสอบสิทธิมีความสัมพันธ์ทางลบกับความคาดหวังและความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2560.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2561.

Ziethaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. Delivering quality service: Balancing customer perceptions. New York: The Free Press; 1990.

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ข้อมูลรายจำนวนผู้มารับบริการในปี 2560-2562ณ วันที่ 30 กันยายน 2562. ฉะเชิงเทรา: โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา; 2562.

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ข้อมูลแบบประเมินตนเองของหน่วยงานผู้ป่วยนอก (Service profile) ประจำปีงบประมาณ 2562. ฉะเชิงเทรา: โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา; 2562.

อัครณี ภักดีวงษ์. การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน และงานบริการในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2561. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสถิติ, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม; 2561.

Tenner, A. R., and Detoro. Total Quality Management: There Step to Continuous Improvement. Massachusetts: Addison-Wesley; 1992.

อัจฉราภรณ์ กิ่งเล็ก และดวงกมล ปิ่นเฉลียว. คุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560;9:54-63.

Zeithaml, V.A. and Bitner. Services Marketing: Integrating Customer Focus across the Firm. 3rd edition. New York: McGraw-Hill Irwin; 2003.

ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกับความพึงพอใจของผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2561;11:358-364.

นิลาวรรณ งามขำ, ปัทมาวรรณ์ แก้วสาย, ยุพาพรรณ ชาภักดี, ประธาน สัมฤทธิ์รินทร์, จุฑามาศ พรมเทศ, ชลิตา จิตสวา, และคณะ. ภาพลักษณ์องค์กรและและการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางโฉลง จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12:337-346.

กัญปวีร์สุ ชัยพิรวัส. ความพึงพอใจของผู้รับบริการคลินิกพรีเมียมในศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12:75-82.

ปัทมากร ระเบ็ง. ความพึงพอใจของลูกค้าเงินฝากต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการของธนาคารออมสินสาขาดอยเต่า (ธนาคารชุมชน) จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05