การพัฒนาชุดกิจกรรมภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศรินรัตน์ จันทพิมพ์ -
  • Nichapat Maneephun Faculty of Nursing, Burerum Rajabhat University.
  • Narongkorn Chaiwong Faculty of Nursing, Burerum Rajabhat University.

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, ปราชญ์ชาวบ้าน, ป้องกัน, ชุดกิจกรรม, ปราชญ์ชาวบ้าน, ป้องกัน, ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของชุดกิจกรรมภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงวิจัย และพัฒนา (Research and development) กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย จำนวน 30 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายนพ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติบรรยาย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบของคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทยก่อนและหลังทดลองโดยใช้สถิติ t-test

ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบภูมิปัญญาชุมชน กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมพัฒนาสมองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.62 (SD = 0.45)

การใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้านในผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงการสร้างความตระหนักในการป้องกันปัญหา กระตุ้นสมองในรูปแบบต่างๆ ช่วยป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

References

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการวิจัยระบบการคุ้มครองด้านสุขภาพและสังคมสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท; 2561.

World Health Organization. Global action plan on the public health response to dementia 2017-2025. Geneva: WHO Document Production Services; 2017.

บรรลุ ศิริพานิช.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2560.

เพชรรัตน์ พิบาลวงค์ จตุพร จันทะพฤกษ์ ภาวิณี แพงสุข (2561) การศึกษาสถานการร์ภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 8(2): 46-57.

Alzheimer’s Society. Mild cognitive impairment (MCI). Retrieved from https://www.alzheimers.org.uk/info/20007/types_of_dementia/16/mild_cognitive_impairment.mci 2015.

Teng, E., Tassniyom, K., & Lu, P.H. Reduced quality of life ratings in mild cognitive impairment: Analyses of subject and informant responses. American Journal Geriatric Psychiatry 2012; 20(12) : 1016–1025.

พัชญ์พิไล ไชยวงศ์, เพื่อนใจ รัตตากร และพีรยา มั่นเขตวิทย์. ผลของโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2558 ; 48(3) : 182-191.

Gerhard, W. E., Thomas, L., Stefan, K. l., & Michael, H. New developments in the diagnosis of dementia. Deutsches Arzteblatt International 2010; 107(39) : 677–683.

Atkinson, R.C. and Shiffrin, R.M. The Psychology of Learning and motivator : Advances in Research and Theory. New York : Academic; 1997.

Greenway, M. C., Duncan, N. L., Smith, G.E. (The memory support system for mild cognitive impairment: Randomized trial of a cognitive rehabilitation intervention. International journal of geriatric psychiatry 2013; 28(4) : 402–409.

ปัญญเดช พันธ์วัฒน์ สมศักดิ์ลิลา และสมโภชน์อเนกสุข. กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2560; 13(1) :149-170.

จารุวรรณ ก้านศรี รังสิมันต์ สุนทรไชยา นภัทร เตี๋ยอนุกูล และคณะ. ผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย. พยาบาลสาร 2560; 44(2) : 12-21

อรพรรณ แอบไธสง. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการฝึกความจำในผู้สูงอายุสมองเสื่อม วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, Orrell M. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy programmed for people with dementia: randomized controlled trial. Br J Psychiatry. 2003 Sep; 183 : 248-54.

Krejcie R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3) : 607-610.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบทดสอบ สมรรถภาพสมองของไทย Thai Mental State Examination (TMSE). สารศิริราช 2536; 45(6) : 359-374.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส; 2553.

ชัชวาล วงค์สารี และศุภลักษณ์ พื้นทอง ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 22 (43-44) : 166-179.

ชุติมา ทองวชิระ ณัฐรพี ใจงาม และ สุชาดา โทผล. รูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(3) : 96-109.

Breuil V, De Rotrou J, & Forette F. Cognitive stimulation of patients with dementia: Preliminary results. International Journal of Geriatric Psychiatry 1994; 9 : 211-217.

ปะราลี โอภาสนันท์ และวิยะดา รัตนสุวรรณ. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมต่อการทำงานของสมองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563; 12(1) : 255-267.

Kleinman. Patients and Healers in the Context of Culture: An Exploration of the Borderland between Anthropology Medicine and Psychiatry, Berkley. London: University of California Press; 1980.

จิรภา วิลาวรรณ จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์และคณะ.ผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวติและป้องกันภาวะซึมเศร้า เชิงสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565 ; 15 (1) : 181-195.

จารุเพ็ญ ภูจอมจิตร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565 ; 15 (1) : 86-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05