ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วรชินา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นิภา มหารัชพงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี จังหวัดนครพนม จำนวน 386 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ปัจจัยนำด้านระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประสบการณ์การทำนาข้าว และประเภทของสารเคมีที่เกษตรกรใช้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้านปัจจัยนำด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยเอื้อ พบว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

จากผลการศึกษาจึงควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ การสนับสนุนการเข้าถึงอุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี เพื่อให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปัจจัยการผลิต ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2560- 2564. [ออนไลน์]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ความเสี่ยงและหรือไม่ปลอดภัยต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2561. [ออนไลน์]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106

ศรัณญภัส รักศีล, ปริศนา วงค์ล้อม. พฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวไร่แซมสวนยางพารา ในตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารแก่นเกษตร 2564;49(1): 719-724.

ฌาน ปัทมะ พลยง และคณะ. การศึกษาแบบผสมผสานวิธี: พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ที่มีผลต่ออาการเฉียบพลันของเกษตรกรทำนา อําเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563; 9(1): 104-115.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2562. [ออนไลน์] 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานมาตรฐานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. อ้างอิงฉบับที่ 2 โรคจากการประกอบอาชีพอัตราป่วยรวมจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (แบ่งตามเขตสุขภาพ) ปี 2560 –2562. [ออนไลน์]. 2562 [สืบค้นเมื่อ

มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/.

กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ HDC. อัตราป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืช CUP ปี พ.ศ.2562 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports

ยุวยงค์ จันทรวิจิตร และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรในเขตภาคเหนือ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2564;15(1):111-124.

บัวทิพย์ แดงเขียน, พิมพรรณ รัตนโกมล, อัศวเดช สละอวยพร, มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกําาจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560;10(7):107-122.

น้ำเงิน จันทรมณี. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชและประสิทธิผลของการให้อาชีวศึกษาที่มีผลต่อความรู้ทางด้านความปลอดภัยของเกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดพะเยา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2560;10(37): 35-45.

กนกวรรณ พันธมาศ, วัชรี ศรีทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4;วันที่ 10 มีนาคม 2560; มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. หน้า 712-720.

Green LW and Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse; 2005.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODELในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;12(1): 40-46.

Sorensen K and et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012;12(80):1-13.

ทวีรัตน์ เฟสูงเนิน, วิโรจน์ จันทร, สรัญญา ถี่ปูอม, สมชาย สวัสดี. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ทํานา ตำบลเสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2559;9(33): 26-36.

สำนักงานสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี 2561. [ออนไลน์]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view

ณัฐธญา วิไลวรรณ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3; วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2559; นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา. หน้า 393-400.

สมคิด ทิมสาด. คู่มือการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สุขศึกษาและ พฤติกรรมศาสตร์ กองเวชกรรมป้องกัน [อินเทอร์เน็ต]. กรมแพทย์ทหารเรือ; 2548 [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dc ms/files/52920603/chapter2.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05