ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, กิจกรรมทางกาย, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลก่อนและหลังการทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนาสร้าง และโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองจิก อายุ 60-69 ปี จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ โปรแกรมประกอบด้วย การให้ความรู้ การสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสร้างความคาดหวังต่อผลลัพธ์ และกิจกรรมทางกายวิเคราะห์ข้อมูลบุคคล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบความแตกต่างdependent t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นความคาดหวังในผลลัพธ์ 2) กลุ่มทดลองมีกิจกรรมทางกายมากกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 3) กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายมากกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
จากผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมสามารถเพิ่มกิจกรรมทางกายและส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายได้ จึงควรนำไปใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าว
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุ. ใน:ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด; 2562. p. 17-56.
ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อรณา จันทรศิริ และปฏิญญา พงษ์ราศี, บรรณาธิการ. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้สูงวัย (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2560. p. 32-5.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรสูงอายุ. ใน ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, กรกนก พงษ์ประดิษฐ์, บรรณาธิการ. ฟื้นกิจกรรมทางกายในประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19: Regenerating physical activity in Thailand after COVID-19 pandemic. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด; 2563. p. 28-31.
World Health Organization. Global recommendations on physical activity for health: World Health Organization; 2010.
Lo SWS, Chair SY, Lee FK. Factors associated with health-promoting behavior of people with or at high risk of metabolic syndrome: Based on the health belief model. Applied Nursing Research. 2015;28 (2):197-201.
วิมล ปักกุนัน, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยประยุกต์แนวคิดความรอบรู้กิจกรรมทางกาย คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | KKU Journal for Public Health Research. 2563; 13 (4):81-93.
อมรวรรณ ฤทธิเรือง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายแบบโนราห์ประยุกต์ต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
Dale E. Audiovisual methods in teaching. 3rd ed. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1969.
สุนิศา ทากะโก, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา, สนใจ ไชยบุญเรือง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมสำหรับชมรมผู้สูงอายุ บ้านห้วยยาง ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561;12(3):356-363.
Bandura A, Freeman WH, Lightsey R. Self-Efficacy: The Exercise of Control. J Cogn Psychother. 1997(2):158-66.
จิราวรรณ ดอกบัวหลวง, พรรณี บัญชรหัตกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะแรกที่มารับบริการในโรงพยาบาลอุดร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2560;10(1):548-554.
Soichue, M, Benjakul, S., Kengganpanich, M., Kengganpanich, T. The results of arm swing exercise program by applying recognition theory, self-efficacy with social support for elderly in Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2017;33(2):73-83
ธนัช กนกเทศ, สุคนธรัตน์ ศิริวรรธนะไชย. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุเขตกึ่งเมือง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561;11(1):380-5.
ฉัตรทิพย์ เพ็ชรชลาลัย และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด ต่อสมรรถภาพทางกาย ในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU Journal for Public Health Research. 2562:52-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น