ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • อรรถวิทย์ วงศ์มณี สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, เขตสุขภาพที่ 10

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้จำนวน 395 คน จาก 20 อำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 10 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ สถิติอนุมานใช้ Multiple Linear Regression

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยการบริหารงาน กระบวนการบริหาร และการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อยู่ในระดับสูงร้อยละ 83.30, 88.10 และ 85.80 มีคะแนนเฉลี่ย 53.10 (SD = 6.87), 99.10 (SD = 11.31), 51.80 (SD = 6.44) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ ปัจจัยการบริหารด้านกำลังคน และด้านวัสดุอุปกรณ์ กระบวนการบริหารด้านการวางแผน และการมีภาวะผู้นำซึ่งสามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานตามบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในเขตสุขภาพที่ 10 ได้ร้อยละ 50

ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนด้านกำลังคน และด้านวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ และเหมาะสม พัฒนากระบวนการวางแผน การสร้างภาวะผู้นำ และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับคณะกรรมการ และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น

References

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประกอบการพิจารณา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1. เดือนกุมภาพันธ์ 2561.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

แววดี เหมวรานนท์. การประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2563; 6(1): 140-57, 30 มิถุนายน.

อรพรรณ ลีลาวงศ์กิจ, พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอ อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน. Acad J Mahamakut Buddh Univ Roi Campus. 2563; 9(1): 356–65.

มานพ ฉลาดธัญญกิจ. การดำเนินงานคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดสกลนคร. 2561.

ชินวัฒน์ ชมประเสริฐ, ธานี โชติกคาม. (2564). "Transformational Leadership and Teamwork Affecting Effectiveness of the District Health Board in the Health Area 2", Journal of Disease and Health Risk DPC.3. 2562; Available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/208518. [อ้างถึง 10 กุมภาพันธ์, 2021].

สมยศ ศรีจารนัย. บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4. 2561.

Best John. Research in Education. 3rd ed. New Jersey, USA: Prentice Hall, Inc. 1977.

กิตติ เหลาสุภาพ, ธานินทร์ ไชยานุกูล. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย. 2565; 4(2): 67-76; เมษายน - มิถุนายน.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ และคณะ. การประเมินผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ กรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2559; 7(2): 105–30.

ปราโมชย์ เลิศขามป้อม, มโน มณีฉาย และธีระ วรธนารัตน์ (2557). "การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2557", สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. เข้าถึงได้จากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4325. [อ้างถึง 12 สิงหาคม 2564].

สุรพงษ์ ลักษวุธ. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิจัยและพัฒนา ระบบสุขภาพ. 14(3): กันยายน - ธันวาคม, 2564.

วุฒินันท์ สุดบอนิจ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 7(1): 2565.

ฤทธี เพ็ชรนิล. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอ

ในจังหวัดชุมพร. 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05